IP ADDRESS

แสดงบทความ 1 - 3 จาก 3 รายการ ดูเพิ่มเติม »

 สมัครรับบทความ

IPV4 และ IPV6 คืออะไร

โพสต์28 ก.ค. 2560 14:47โดยนายจักรกริช อาจแก้ว   [ อัปเดต 28 ก.ค. 2560 15:23 ]

IPV4 และ IPV6 คืออะไร

เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต คงจะเคยเห็นตัวเลขแปลกๆ เช่น 127.0.0.1 หรือ 192.168.1.1 หรือจำนวนอื่นๆ ตัวเลขเหล่านี้คืออะไรกัน

ตัวเลขเหล่านี้คือหมายเลข IP ประจำเครื่องครับ โดย IP ก็ย่อมาจากคำว่า Internet Protocol หน้าที่ของเจ้าเลขพวกนี้ก็คือ เป็นหลายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่าย เป็นหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ในกรณีที่เราเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น โทรศัพท์มือถือทุกเครื่องก็จะมีเลขหมายหรือเบอร์โทรศัพท์เพื่อบอกว่าถ้าจะติดต่อเครื่องนี้ให้โทรมาที่เบอร์นี้นะ เช่นเดียวกันครับ คอมพิวเตอร์ก็มีเลขหมายหรือพูดง่ายก็คือชื่อมันนั่นเอง เพือให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ บนระบบเครือข่ายรู้จักกัน

จากหมายเลข IP ที่ยกตัวอย่างไปด้านบน เราเรียกว่า IPv4 ครับ โดยจะเป็นหมายเลขที่มีทั้งหมด 32 บิต (แต่ละช่วงเว้นวรรคด้วย . ) แบ่งเป็นช่วงละ 8 บิต โดยตัวเลข 8 นี้ก็จะมีค่าตั้งแต่ 0 – 255 ครับ ดังนั้น IPv4 จึงมีหมายเลขได้ตั่งแต่ 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255 แต่ก็ใช่ว่าทุกตัวจะใช้ได้หมดนะครับ เพราะจะมีบางหมายเลขที่ถูกเก็บไว้ใช้งานเฉพาะ

IPv4 ทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็น Class ชนิดต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ในการใช้งานที่ต่างกันไป ดังนี้ครับ

สำหรับไอพีในช่วง 127.0.0.0 ถึง 127.255.255.255 ใช้สำหรับการทดสอบระบบ

แต่หมายเลข IP ด้านบนนี้ก็ยังถูกแบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภทคือ IP ส่วนตัว (Private IP) และ IP สาธารณะ (Publish IP)

โดย IP ส่วนตัวมีไว้สำหรับใช้งานภายในองค์กรเท่านั้น ได้แก่

ไอพีส่วนตัวข้างต้นถูกกำหนดให้ไม่สามารถนำไปใช้งานในเครือข่ายสาธารณะ (Internet)

ส่วน IP สาธารณะมีไว้สำหรับให้แต่ละองค์กร หรือแต่ละบุคคลใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายเข้าหากัน

จากช่วงของ IPv4 ตั้งแต่ 1.1.1.1 ถึง 255.255.255.255 ถ้าคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องใช้หนึ่งหมายเลข เช่น เครื่องผมใช้ 1.1.1.1 เครื่องที่สองใช้ 1.1.1.2 เราก็จะประมาณได้ว่าเราจะมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงอยู่ในระบบเครือข่ายได้ทั้งหมดประมาณ 232 เครื่องครับ ซึ่งเป็นตัวเลขที่เยอะมาก แต่ก็ยังเยอะไม่พอ เพราะว่า IPv4 ที่แจกจ่ายให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกได้กำลังจะหมดลงไปแล้ว

แล้วเราจะทำอย่างไรดี ถ้าเราซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาแล้วไม่มี IP ให้เราใช้ล่ะ วิธีการที่นักคอมพิวเตอร์แก้ไขก็คือการกำหนดหมายเลข IP ใหม่ขึ้นมาครับ โดย IP ใหม่นี้ถูกเรียกว่า IPv6 (Internet Protocol version 6) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลน IP โดย IPv6 นี้ใช้ระบบเลข 128 บิต ดังนั้นจึงมีจำนวน IP ได้มากสุดถึง 2128 หมายเลขครับ เยอะมากที่จะพอให้มนุษย์บนโลกนี้ใช้ได้ไปอีกนานเลยทีเดียว

IPv6 (Internet Protocol Version 6)

อินเทอร์เน็ตโพรโตคอล รุ่นที่ 6 หรือ IPv6

ปัจจุบันนี้อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้นและมีเทคโนโลยีต่างๆมากมายที่จะต้องใช้อินเทอร์เน็ตในการเชื่อมต่อถึงกัน ดังในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าแม้กระทั่งโทรศัพท์มือถือก็มีอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนประกอบหนึ่งรวมไปถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ

กลไกสำคัญในการทำงานของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตโพรโตคอล (Internet Protocol) ซึงส่วนประกอบที่สำคัญของอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลได้แก่ ไอพีแอดเดรส (IP address) ที่ใช้ในการอ้างอิงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตทั่วโลก เปรียบเสมือนการใช้งานโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกัน จะต้องมีหมายเลขโทรศัพท์เพื่อให้อ้างอิงผู้รับสายได้ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตก็ต้องมีหมายเลขไอพีแอดเดรส ที่ไม่ซ้ำกับใคร

ปัจจุบันเราใช้ไอพีแอดเดรส (IP address) บนมาตรฐานของอินเตอร์เน็ตโพรโตคอลคือ Internet Protocol version 4 (IPv4) ซึ่งเราใช้เป็นมาตรฐานในการส่งข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981 ทั้งนี้การขยายตัวของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในช่วงที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว

นักวิจัยเริ่มพบว่าจำนวนไอพีแอดเดรส (IP address) ของ IPv4 กำลังจะถูกใช้หมดไป ไม่เพียงพอกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในอนาคตจนคาดคะเนกันว่าหมายเลขไอพีแอดเดรสของ IPv4 จะมีไม่พอกับความต้องการในปี ค.ศ. 2010 และหากเกิดขึ้นก็หมายความว่าเราจะไม่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายเข้ากับ ระบบอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นได้อีก ดังนั้นคณะทำงาน IETF (The Internet Engineering Task Force) ซึ่งตระหนักถึงปัญหาสำคัญดังกล่าว จึงได้พัฒนาอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นใหม่ขึ้น คือ รุ่นที่หก (Internet Protocol version 6; IPv6) เพื่อทดแทนอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นเดิม โดยมีวัตถุประสงค์ IPv6 เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของตัวโพรโตคอล ให้รองรับไอพีแอดเดรส (IP address) จำนวนมาก และปรับปรุงคุณลักษณะอื่นๆ อีกหลายประการ ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและความปลอดภัยรองรับระบบแอพพลิเคชั่น (application) ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลแพ็กเก็ต (packet) ให้ดีขึ้น ทำให้สามารถตอบสนองต่อการขยายตัวและความต้องการใช้งานเทคโนโลยีบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในอนาคตได้เป็นอย่างดี

Internet Protocol version 6 (IPv6) บางครั้งเรียกว่า Next Generation Internet Protocol หรือ IPng ถูกออกแบบมาให้ทำงานได้ดีในเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูง (เช่น Gigabit Ethernet, OC-12,ATM) และในขณะเดียวกันก็ยังสามารถทำงานในเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพต่ำได้ (เช่น Wireless Network) นอกจากนี้ยังได้มีการจัดเตรียมแพลตฟอร์มสำหรับฟังก์ชันใหม่ๆ ของอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นที่ต้องการใช้ในอนาคต ความแตกต่างระหว่าง IPv6 และ IPv4 มีอยู่ 5 ส่วนใหญ่ๆ คือ ไอพีแอดเดรส (IP address) และการเลือกเส้นทาง (Addressing & Routing) ความปลอดภัย อุปกรณ์แปลแอดเดรส (Network Address Translator : NAT) การลดภาระในการจัดการของผู้ดูแลระบบ และการรองรับการใช้งานในอุปกรณ์พกพา (Mobile Devices)

ประโยชน์หลักของ IPv6 และเป็นเหตุผลสำคัญของการเริ่มใช้ IPv6 ได้แก่ จำนวน ไอพีแอดเดรส ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาลเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวน ไอพีแอดเดรส เดิมภายใต้ IPv4 address มี 32 บิต ในขณะที่ IPv6 address มี 128 บิต ความแตกต่างของจำนวน ไอพีแอดเดรส มีมากถึง 296 เท่า

รูปที่ 1 รูปแบบของแอดเดรส IPv4 และ IPv6

หมายเลขแอดเดรสของ IPv6 มีลักษณะประกอบไปด้วย กลุ่มตัวเลข 8 กลุ่ม เขียนขั้นกั้นด้วยเครื่องหมาย “ : ” โดยแต่ละกลุ่มคือเลขฐาน 16 จำนวน 4 ตัว (16 bit)

รูปที่ 2 ตัวอย่างหมายเลขแอดเดรส IPv4 และ IPv6

ด้วยความยาวที่เพิ่มขึ้นของ IPv6 address ทำให้ไม่สะดวกที่จะใช้ตัวเลขฐานสิบ สามารถเขียนแบบย่อได้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้

1.หากมีเลขศูนย์ด้านหน้าของกลุ่มใดสามารถจะละไว้ได้

2.หากกลุ่มใดเป็นเลขศูนย์ทั้ง 4 ตัว (0000) สามารถเขียนแทนด้วย “ 0 ”

3.หากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง (หรือหลายๆกลุ่มที่ตำแหน่งติดกัน) เป็นเลขศูนย์ทั้งหมด สามารถจะละไว้ได้โดยใช้เครื่องหมาย “ :: ” แต่จะสามารถทำลักษณะนี้ได้ตำแหน่งเดียวเท่านั้นเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน

รูปที่ 3 ตัวอย่างการเขียนหมายเลขแอดเดรส IPv6 แบบย่อ

เปรียบเทียบ Header ระหว่าง IPv4 และ IPv6

เฮดเดอร์ (Header) ของข้อมูลแบบ IPv6 แพ็กเก็ต (packet) ถูกออกแบบมาให้มีขนาดคงที่ที่ 40 ไบต์ (bytes) และมีรูปแบบที่ง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฮดเดอร์ จะประกอบด้วยตำแหน่งต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ในการประมวลผลแพ็กเก็ต (packet) ที่เราเตอร์ (router) หรืออุปกรณ์เลือกเส้นทางทุกตัวเท่านั้น ส่วนตำแหน่งที่อาจจะถูกประมวลผลเฉพาะที่ต้นหรือปลายทางหรือที่เราท์เตอร์บางตัว จะถูกแยกออกมาไว้ที่ส่วนขยายของเฮดเดอร์ (extended header)

รูปที่ 4 การเปรียบเทียบ Header ระหว่าง IPv4 และ IPv6

จะเห็นว่าเฮดเดอร์ IPv6 ถึงแม้จะมีขนาดยาวกว่า IPv4 แต่จะดูเรียบง่ายกว่าเฮดเดอร์ของ IPv4 มาก ทั้งนี้หากพิจารณาเฮดเดอร์ของ IPv6 เทียบกับของ IPv4 จะสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างได้ดังนี้

ตารางที่ 1 เปรียบเทียบโครงสร้างทางเทคนิคของ IPv6 และ IPv4

ตำแหน่งข้อมูลที่ตัดออก

Header length ถูกตัดออกไป เพราะเฮดเดอร์ของ IPv6 มีขนาดคงที่ที่ 40 ไบต์ (bytes) ทำให้ประสิทธิ ภาพโดยรวมของการประมวลผลแพ็กเก็ตดีขึ้น ไม่เสียเวลาในการคำนวณขนาดของเฮดเดอร์

• Identification, Flag, Flag Offset, Protocol,Options, และ Padding ถูกย้ายไปอยู่ใน ส่วนขยายของเฮดเดอร์ (extended header)เพราะถือว่าเป็นส่วนที่ไม่จำเป็นต้องประมวลผลในทุกๆ เราเตอร์

• Header Checksum ถูกตัดออกเพราะว่าซ้ำซ้อนกับฟังก์ชันของโพรโตคอลในชั้นที่อยู่สูงกว่า อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการประมวลผลด้วย เพราะ Checksum จะต้องมีการคำนวณใหม่ที่เราเตอร์เสมอหากตัดออกก็จะลดภาระงานที่เราเตอร์ไปได้

ตำแหน่งข้อมูลที่ปรับเปลี่ยน

• Total Length เปลี่ยนมาเป็น Payload lengthเพื่อระบุขนาดของ Payload ในหน่วยไบต์ดังนั้นขนาดของ Payload สูงสุดจะเป็น 65,535 ไบต์ (bytes)

• Time-To-Live (TTL) ของ IPv4 เปลี่ยนมาเป็น Hop Limit เพราะ TTL ระบุเวลาที่แพ็กเก็ตจะวนเวียนอยู่ในอินเทอร์เน็ต (หน่วยเป็นวินาที)โดยระบุว่าแต่ละเราเตอร์ต้องลด TTL ลงอย่างน้อย 1 วินาที เราเตอร์จึงลด TTL ครั้งละ 1 หน่วยเสมอแม้ว่าจะใช้เวลาประมวลผลแพ็กเก็ตน้อยกว่านั้น ทำให้ไม่ตรงกับความหมายของ TTL ดังนั้นจึงถูกเปลี่ยนเป็น Hop Limit เพื่อให้ตรงกับความหมายจริงๆ ซึ่งเหมาะสมและง่ายต่อการประมวลผล

• Protocol เปลี่ยนมาเป็น Next Header ซึ่งใช้เป็นตัวบอกว่า extended header ตัวถัดไปเป็นเฮดเดอร์ ประเภทไหน เช่น ถ้าเป็น extended header ชนิด IPsec จะมีค่า Next Header = 51

ตำแหน่งข้อมูลที่เพิ่ม

• Flow Label ใช้ระบุลักษณะการไหลเวียนของทราฟฟิกระหว่างต้นทางกับปลายทาง เนื่องจากในแอปพลิเคชั่นหนึ่ง สามารถมีทราฟฟิกหลายประเภท (เช่น ภาพ เสียง ตัวอักษร ฯลฯ) และทราฟฟิกแต่ละประเภทมีความต้องการที่แตกต่างกัน Flow Label จึงมีไว้เพื่อแยกประเภทของทราฟฟิกและเพื่อให้เราเตอร์รู้ว่าควรปฏิบัติต่อทราฟฟิกแต่ละประเภทแตกต่างกัน

• Type-of-Service (TOS) เปลี่ยนมาเป็น Traffic Class ซึ่งมีจำนวนบิตมากกว่า สามารถแบ่งกลุ่มและระดับความสำคัญของแต่ละแพ็กเก็ตละเอียดมากขึ้น เพื่อที่เราเตอร์จะจัดลำดับขั้นการส่งแพ็กเก็ตให้เหมาะสม

การปรับเปลี่ยนระบบเครือข่ายจาก IPv4 สู่ IPv6

การปรับเปลี่ยนในช่วงแรก การใช้งาน IPv6 อาจอยู่ในวงแคบ ดังนั้นเราต้องการเทคนิคเพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายที่เป็น IPv6 เข้ากับเครือข่าย IPv4หรือเครือข่าย IPv6 อื่น เทคนิคการทำงานร่วมกันระหว่าง IPv4 และ IPv6 แบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ

1. Dual Stacks เป็นการใช้งาน IPv4 และ IPv6 stack ควบคู่กันไป ภายในอุปกรณ์ตัวเดียวกัน Dual Stacks สามารถใช้ได้ทั้งที่ end host ที่เซิร์ฟเวอร์และที่อุปกรณ์เครือข่าย (network device) เช่น เราท์เตอร์ Dual Stacks เป็นทางออกที่ง่ายที่สุดสำหรับเครือข่ายที่ต้องการเริ่มใช้งาน IPv6 และถูกใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุดในปัจจุบัน

รูปที่ 5 การทำงานร่วมกันระหว่าง IPv4 และ IPv6 แบบ Dual Stacks

2. Tunneling เป็นการสร้างท่อในการรับส่ง IPv6 ผ่านไปบนเครือข่าย IPv4 การทำอุโมงค์ โดยทั่วไปเป็นการ encapsulate แพ็กเก็ตข้อมูลที่ต้องการส่งไว้ในอีกแพ็กเก็ตหนึ่ง เนื่องจากแพ็กเก็ตที่อยู่ภายในไม่สามารถถูกส่งไปยังปลายทางได้ จึงต้องอาศัยการห่อหุ้มด้วยแพ็กเก็ตอื่น การทำอุโมงค์เพื่อใช้งาน IPv6 นั้นก็เช่นกันใช้เมื่อเครือข่ายเชื่อมต่ออยู่ด้วยไม่สนับสนุน IPv6 จึงจำเป็นต้องหุ้มแพ็กเก็ต IPv6 ไว้ภายใต้แพ็กเก็ต IPv4 อีกที

รูปที่ 6 การทำ IPv6 in IPv4 packet encapsulation

การทำ Tunnel สำหรับเครือข่าย IPv6 ต้องสร้างเส้นทางการติดต่อระหว่างเครื่องที่ใช้หมายเลข IPv6 ผ่านเครือข่ายที่ใช้หมายเลข IPv4 โดยเกตเวย์ (Gateway) ของเครือข่ายของเครื่องที่ใช้หมายเลข IPv6 จะทำหน้าที่ห่อหุ้มแพ็กเก็ต IPv6 ไว้ใน IPv4 ก่อนจะส่งไปในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สนับสนุนการใช้หมายเลข IPv4 เท่านั้น โดยระหว่างทางจะดูหมายเลขต้นทางและปลายทางที่อยู่ในส่วนหัวของแพ็กเก็ต IPv4 เท่านั้น จะไม่สนใจส่วนที่อยู่ภายในเมื่อส่งไปถึงปลายทางเกตเวย์จะถอดแพ็กเก็ต IPv4 ออกให้เหลือแต่แพ็กเก็ต IPv6 แล้วส่งไปยังเครื่องที่ใช้หมายเลข IPv6 ต่อไป

รูปที่ 7 การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบอุโมงค์ IPv6-over-IPv4 Tunnel

3. Translation เป็นวิธีที่ใช้กับการสื่อสารข้ามเครือข่าย เช่น โหนดจากเครือข่าย IPv4 ต้องการคุยกับเซิร์ฟเวอร์ในเครือข่าย IPv6 หรือโหนดที่เป็น IPv6 ต้องการคุยกับเซิร์ฟเวอร์ที่เป็น IPv4 ซึ่งจะเป็นกรณีที่ต่างไปจากการใช้งาน Dual Stacks และ Tunnel การทำ Translation พูดง่ายๆ ก็คือ การแปลงข้อมูลไปมาระหว่างข้อมูลในรูปแบบของ IPv4 และ IPv6 การแปลงข้อมูลนี้สามารถทำได้สองแบบ

แบบแรก คือการแปลงที่ end host โดยเพิ่ม translator function เข้าไปใน protocol stack โดยอาจอยู่ที่ network layer หรือ socket layer ก็ได้

แบบสอง คือการแปลงที่ network device โดยจะต้องใช้ gateway ทำหน้าที่เป็น IPv6 – IPv4 และ IPv4 – IPv6 translator อยู่ที่ทางออกที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย IPv6 และ IPv4

รูปที่ 8 โครงสร้างของ Network Stacks เพื่อการแปลงข้อมูลระหว่าง IPv6 และ IPv4

รูปที่ 9 แผนภาพแสดงการปรับเปลี่ยนระบบจาก IPv4 ไปสู่ IPv6

ความสามารถพิเศษของ IPv6 ที่เหนือกว่า IPv4

1. Management 

การตั้งค่าและปรับแต่งระบบเครือข่าย ในปัจจุบันมีความซับซ้อนมาก IPv6 จึงถูกออกแบบมาให้สนับสนุนการติดตั้งและปรับแต่งระบบแบบอัตโนมัติ(auto configuration) เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการจัดสรรปรับเปลี่ยน IP address (Address Renumbering) การเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการหลายราย (Multi homing) และแม้แต่การจัดการเครือข่ายแบบ Plug-and-play

2. Broadcast/Multicast/Anycast

ใน IPv4 ได้มีการจัดสรร IP Address ส่วนหนึ่งเพื่อเป็น Broadcast address แต่ในความเป็นจริงแล้วการสื่อสารแบบ Broadcast เป็นสิ่งที่ไม่มีความจำเป็นและสิ้นเปลือง Bandwidth โดยเปล่าประโยชน์ Multicast เป็นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากกว่าและเริ่มเป็นที่นิยม IPv6 จึงถูกออกแบบมาให้รองรับ Multicast group address และตัด Broadcast address ออก

นอกจากนี้ IPv6 ยังเพิ่มความสามารถในการสื่อสารแบบ Anycast โดยอนุญาตให้อุปกรณ์มากกว่า 1ชิ้นได้รับการจัดสรร IP address เบอร์เดียวกันซึ่งหมายความว่าอุปกรณ์ชิ้นใดก็ได้สามารถตอบสนองต่อข้อมูลที่ส่งมาที่ Anycast address นั้นๆ

3. Mobile IP

IPv6 สนับสนุนการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่เช่นเดียวกับ IPv4 แต่ว่าการใช้งาน Mobile IPv6 นั้นมีประสิทธิภาพมากกว่า Mobile IPv4 ตรงที่สามารถส่งข้อมูลผ่านเส้นทางที่สั้นที่สุดโดยไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์ตัวกลางในการส่งต่อข้อมูล(Route Optimization)และสามารถใช้ IPSec ในการป้องกันการโจรกรรมแพ็กเก็ตกลางทาง

4. Security

เราเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายทุกตัวในเครือข่าย IPv6 ถูกกำหนดให้รองรับการใช้งาน IPSec นอกจากนี้ยังมีการกำหนด Security Payload สองประเภทคือ Authentication Payload และ Encrypted Security Payload เพื่อสนับสนุนการรับส่งข้อมูลที่มั่นคงปลอดภัย ภายใต้ Network Layer แทนที่จะพึ่ง Application Layer เหมือนในเครือข่าย IPv4

รูปที่ 10 แสดงระบบ Security ที่ใช้ IPv6

5. Virtual Private Network (VPN )

แต่เดิมในเครือข่าย IPv4 การให้บริการ VPN ทำได้โดยใช้ IPSec เพื่อเข้ารหัสข้อมูลใน Network Layer ทั้งหมด ซึ่งจะติดปัญหาหากเครือข่ายต้นทางหรือปลายทางมีการทำ Network Address Translation (NAT) เพราะการเข้ารหัสจะต้องสิ้นสุดก่อนถึงจุดหมายปลายทางสำหรับเครือข่าย IPv6 ไม่มีปัญหาดังกล่าว เพราะไม่มีความจำเป็นต้องใช้ NAT อีกต่อไป นอกจากนี้ยังสามารถใช้ Extended Header ที่เรียกว่า Authentication Header และ Encapsulated Security Payload เพื่อรองรับการใช้งาน VPN แบบปลอดภัย

6. Quality-of-Service

IPv6 ถูกออกแบบมาให้สนับสนุนการรับประกันคุณภาพของบริการตั้งแต่เริ่ม โดยจะเห็นได้จากตำแหน่ง Flow Label และ Traffic Class ในเฮดเดอร์ ถึงแม้ว่าในเฮดเดอร์ของ IPv4 จะมีตำแหน่ง Type-of-Service แต่ไม่มีการใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากไม่มีมาตรฐานในการกำหนดค่าและเราเตอร์บางตัวเท่านั้นที่สามารถประมวลผลตำแหน่ง ToS ได้ ที่ผ่านมา IPv4 มักปล่อยให้ Layer ข้างล่างจัดการเรื่อง QoS แทน เช่น ผ่านเทคโนโลยี MPLS

7. Maximum Transfer Unit (MTU)

MTU ขั้นต่ำในเครือข่าย IPv4 คือ 576 ไบต์ และถูกเพิ่มเป็น 1280ไบต์ ในเครือข่าย IPv6 การเพิ่มความยาวขั้นต่ำของMTU นี้จะช่วยให้การส่งข้อมูลในเครือข่าย IPv6 มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยช่วยลดสัดส่วนของข้อมูลเฮดเดอร์ต่อข้อมูลทั้งหมด

คุณสมบัติของ IP v.6 ที่เหนือกว่า IP v.4

IP V.6 มีคุณสมบัติที่เหนือกว่า IP V.4 มากมาย ซึ่งสามารถสรุปคร่าวๆ ได้ 5 หัวข้อ ได้แก่ เรื่องการกำหนดแอดเดรส (Addressing), การปรับแต่งระบบ (Configuration), การรับส่งขอมูล (Data Delivery), การค้นหาเส้นทาง (Routing) และความปลอดภัย (Security) ซึ่งรายละเอียดแสดงในตารางที่ 2

ตารางที่ 2 ข้อดีของ IPv6 ที่เหนือกว่า IPv4

อุปกรณ์ที่สนับสนุน IPv6

เนื่องจากจำนวน IP address ของ IPv6 นั้นมีมากมาย อุปกรณ์ต่าง ๆ จึงสามารถที่จะมีหมายเลข IP address ของตัวเองทำให้สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ อีกทั้งประสิทธิภาพและข้อดีต่าง ๆ ของ IPv6 จะทำให้เกิดโปรแกรม อุปกรณ์ และการใช้งานใหม่ๆ ขึ้นมาอีกมากมายในอนาคต อาทิเช่น Mobile IPv6, 3G Mobile Broadband, Mobile IP Broadcast, VoIP, P2P Game เป็นต้น แม้กระทั่งอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านก็จะมี IP address ประจำทำให้แยกแยะและควบคุมได้ เกิดเป็นเครือข่ายภายในบ้าน (Home Network) เช่น ควบคุมการเปิด-ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โทรทัศน์ในอนาคตจะเป็นแบบ interactive คือ สามารถโต้ตอบกับผู้ชมได้ สัญญาณกันขโมยสามารถที่จะส่ง real-time IPv6 packet ไปแจ้งตำรวจหรือสายตรวจที่อยู่ใกล้บ้านเราที่สุดได้ อีกตัวอย่าง คือ Internet Car โดยการใช้ IPv6 ร่วมกับ GPS เพื่อบอกตำแหน่ง เนื่องจากประสิทธิภาพการใช้ GPS ในเมืองจะต่ำเพราะตึกสูงๆ จะบังสัญญาณ ดังนั้นการใช้ร่วมกับ wireless/mobile Internet จะดีกว่า ตัวอย่างสุดท้าย เป็นการใช้งานโดยการติดตั้งกล้อง Surveillance IPv6 camera เพื่อดูแลความปลอดภัยหรือดูสภาพการจราจร กล้องเหล่านี้สามารถเป็น Server ได้ในตัว เก็บข้อมูลได้และติดต่อกันได้โดยตรงเนื่องจากมี IP address จริงเป็นของตัวเอง เป็นต้น

สถานการณ์ในปัจจุบัน

ถึงแม้จะเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าสักวันหนึ่งอินเทอร์เน็ตจะต้องปรับเปลี่ยนไปใช้ IPv6 แต่ความตื่นตัวในการปรับเปลี่ยนได้เกิดขึ้นช้ากว่าที่คาดหมายกันไว้ สาเหตุสำคัญ อาจเนื่องมาจากทัศนคติที่ว่า ตราบใดที่อินเตอร์เน็ตยังไม่ขาดแคลนไอพีแอดเดรส IPv6 ก็ยังคงเป็นสิ่งฟุ่มเฟือยและยังไม่จำเป็นมากนัก ถึงกระนั้นก็ตาม IPv6 เริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้น เพราะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตต่างตระหนักดีว่า ไม่ช้าก็เร็ว ปัญหาการขาดแคลนไอพีแอดเดรสจะต้องมาถึง และเมื่อถึงเวลานั้นผู้ที่มีความพร้อมมากกว่าจะเป็นผู้ได้เปรียบ นอกจากนั้น IPv6 ยังเป็นทางออกที่ถาวรทางเดียวในการแก้ปัญหานี้

การผลักดันให้เกิดการนำ IPv6 ไปใช้งานจริง มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ทวีปยุโรปและเอเชียเป็นหลัก ส่วนทวีปอเมริกาเหนือนั้นยังไม่มีจุดยืนที่ชัดเจน สาเหตุที่สำคัญประการแรกคือ ในปัจจุบันทวีปอเมริกาเหนือมีส่วนแบ่งของไอพีแอดเดรสอยู่ถึงร้อยละ 70 ของไอพีแอดเดรสทั้งหมดในโลก จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจที่ทวีปนี้ยังไม่เห็นความจำเป็นของ IPv6 ในทางตรงกันข้าม ทั้งยุโรปและเอเชียต่างพบปัญหาการมีไอพีแอดเดรสไม่พอกับจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต สาเหตุประการที่สอง สืบเนื่องมาจากเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม (3G wireless technology) ทั้งยุโรปและเอเชีย ต่างมีความต้องการสูงทางเทคโนโลยี 3G ซึ่งเทคโนโลยีนี้ทำให้เกิดความต้องการไอพีแอดเดรสที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นเราจึงพบว่าผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และองค์กรที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานต่างๆ ในทวีปยุโรปและเอเชียต่างส่งสัญญาณที่จะแก้ปัญหาการขาดแคลนไอพีแอดเดรส หรืออีกนัยหนึ่งการตอบรับต่อ IPv6 อย่างจริงจัง

ในส่วนของประเทศไทย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ นับว่าเป็นผู้นำในการให้บริการเชื่อมต่อเครือข่าย IPv6 กับต่างประเทศผ่านการทำ IPv6-over-IPv4 tunnel และการทำ 6to4 relay นอกจากนี้ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ยังได้รับความร่วมมือจากหลายมหาวิทยาลัยและบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ทำให้เกิดเครือข่าย IPv6 เพื่อการทดสอบภายในประเทศ (Thailand IPv6 Testbed) ซึ่งมีการเชื่อมต่อด้วยเทคนิคที่หลากหลาย เช่น dual stacks, IPv6-over-IPv4 tunnel และ Native IPv6 เป็นต้น (รายละเอียดสามารถดูได้จาก http://www.ip6.nectec.or.th) ในปัจจุบันได้มีการก่อตั้งคณะทำงานระดับประเทศขึ้นภายใต้ชื่อ Thailand IPv6 Forum หรือโครงการความร่วมมือพัฒนาและส่งเสริมการใช้เครือข่าย IPv6 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานวิจัย ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายฮาร์ดแวร์ระบบเครือข่าย ซึ่งนับว่าเป็นนิมิตรหมายอันดีถึงความตื่นตัวของประเทศไทยในการรับมือกับ IPv6

รูปที่ 11 แผนผังแสดงเครือข่ายทดสอบ Thailand IPv6 Testbed

บทสรุป

การเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้ IPv4 ที่ใช้กันอยู่แพร่หลายในปัจจุบันมีแนวโน้มว่ากำลังจะถูกใช้หมดไปในเวลาอันใกล้นี้ ดังนั้น IPv6 จึงเป็นทางออกทางเดียว โดยได้มีการพัฒนาปรับปรุงตัว Protocol เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพคุณสมบัติต่างๆ ที่เหนือกว่า IPv4 อีกด้วย

ด้วยความไม่พอเพียงของ IPv4 ที่กำลังจะหมดไป และคุณสมบัติที่เหนือกว่าอย่างมากของ IPv6 ไม่ช้าก็เร็วทุกภาคทุกหน่วยงานจำเป็นต้องนำ IPv6 มาใช้อย่างเลี่ยงไม่ได้ และต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบโครงข่ายให้รองรับกับการใช้งาน IPv6 เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างมากของผู้บริโภคในการใช้งานอินเทอร์เน็ตและการใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆ ดังนั้นผู้ให้บริการเหล่านี้ควรมีการศึกษาวางแผนเตรียมพร้อมล่วงหน้า เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในการนำ IPv6 มาใช้ในอนาคต โดยผู้ให้บริการควรสำรวจอุปกรณ์เครือข่ายที่สามารถรองรับกับ IPv6 และวางแผนเตรียมพร้อมในการปรับปรุงโครงข่ายของตน ในส่วนของผู้พัฒนา product และแอพพลิเคชั่นก็สามารถที่จะสร้างโอกาสทางธุรกิจได้ โดยศึกษาความต้องการของตลาด เพื่อคิดค้นออกแบบพัฒนา product หรือแอพพลิเคชั่นที่รองรับกับ IPv6 ซึ่งเหล่านี้ควรมีการเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า เพราะเมื่อถึงเวลาที่ IPv4 หมดลงจริงๆ ผู้ที่พร้อมมากกว่าจะเป็นผู้ได้เปรียบ นอกจากนี้ความเร็วในการเข้ามาและการเตรียมความพร้อมที่ดีจะเป็นการเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันทางธุรกิจอีกด้วย

Internet Protocol (IPv4)

1.บทนำ

โปรโตคอล  เป็นชุดของกฎกติกาในรูปแบบของซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมดูแลการทำงาน  เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและสถานะระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หรือชุดอุปกรณ์เครือข่ายผ่านทางสายสัญญาณที่เชื่อมต่อกันโดยตรงหรือผ่านทางเครือข่ายโปรโตคอล  โปรโตคอลระบบเครือข่ายมีไว้เพื่อควบคุมดูแลการทำงานตั้งแต่ระดับ  Application  ลงมาจนถึงอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย  โปรโตคอลที่รู้จักกันแพร่หลาย  เช่น  อินเตอร์เน็ต  โปรโตคอล  หรือ  IP  ซึ่งใช้เป็นรูปแบบมาตรฐานในการส่ง   ข้อมูลต่างๆในอินเตอร์เน็ต  โดยมีหมายเลขไอพี  หรือไอพีแอดเดรสเฉพาะตัว  โดยไอพีแอดเดรสมีไว้เพื่อให้ผู้ส่งรู้ว่าเครื่องของผู้รับคือใคร  และผู้รับสามารถรู้ได้ว่าผู้ส่งคือใคร  เนื่องจากในปัจจุบันมีการใช้ไอพีแอดเดรสในงานต่างๆ   และความต้องการไอพีแอดเดรสยังคงเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต   เพื่อที่จะรองรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทันสมัยซึ่งจำเป็นต้องใช้ไอพีแอดเดรสในการติดต่อสื่อสารกัน  ความต้องการใช้งานไอพีแอดเดรสนั้น  ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ตามบ้านหรือหน่วยงานต่างๆเท่านั้น   แต่ปัจจุบันยังมีอุปกรณ์อื่นที่ต้องการใช้ไอพีแอดเดรส  เช่น   คอมพิวเตอร์แบบพกพา  อุปกรณ์สื่อสารในยุค 3G 

2. IP (Internet Protocol)

                IP เป็นโปรโตคอลในระดับเน็ตเวิร์คเลเยอร์ ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับแอดเดรสและข้อมูล และควบคุมการส่งข้อมูลบางอย่างที่ใช้ในการหาเส้นทางของแพ็กเก็ต ซึ่งกลไกในการหาเส้นทางของ IP จะมีความสามารถในการหาเส้นทางที่ดีที่สุด และสามารถเปลี่ยนแปลงเส้นทางได้ในระหว่างการส่งข้อมูล และมีระบบการแยกและประกอบดาต้าแกรม (datagram) เพื่อรองรับการส่งข้อมูลระดับ data link ที่มีขนาด MTU (Maximum Transmission Unit) ทีแตกต่างกัน ทำให้สามารถนำ IP ไปใช้บนโปรโตคอลอื่นได้หลากหลาย เช่น Ethernet ,Token Ring หรือ Apple Talk

                การเชื่อมต่อของ IP เพื่อทำการส่งข้อมูล จะเป็นแบบ connectionless หรือเกิดเส้นทางการเชื่อมต่อในทุกๆครั้งของการส่งข้อมูล 1 ดาต้าแกรม โดยจะไม่ทราบถึงข้อมูลดาต้าแกรมที่ส่งก่อนหน้าหรือส่งตามมา แต่การส่งข้อมูลใน 1 ดาต้าแกรม อาจจะเกิดการส่งได้หลายครั้งในกรณีที่มีการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยๆ (fragmentation) และถูกนำไปรวมเป็นดาต้าแกรมเดิมเมื่อถึงปลายทาง

2.1 รูปแบบการแบ่งกลุ่ม Address

ไอพีแอดเดรสของ IPv4 เป็นระบบ 32 บิต  หรือสามารถระบุเลขไอพีได้ตั้ง 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255 (ตัวเลขบางตัวเป็นไอพีสงวนไว้สำหรับหน้าที่เฉพาะเช่น 127.0.0.0 จะเป็นการระบุถึงตัวอุปกรณ์เองไม่ว่าอุปกรณ์นั้นจะมีไอพีสื่อสารจริงๆ เป็นเท่าไร) ไอพีแอดเดรสของ IPv4 นั้นจะเขียนโดยใช้เลขฐานสิบจำนวนสี่หลักโดยใช้จุดคั่นระหว่างแต่ละหลัก  IPv4  ทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็น  Classชนิดต่างๆ  เพื่อจุดประสงค์ในการใช้งานต่างๆกันดังต่อไปนี้

ตารางที่ 1 IP Address และจำนวนโฮสในแต่ละ Class (อนุกิต สาวแก้ว,2549)

                เราคำนวณจำนวนโฮสได้จาก 2n ดังนั้นสามารถกำหนดหมายเลข IP Addressให้โฮสได้ทั้งหมด 232 = 4,294,967,296 โฮส 

2.2 โครงสร้างของ IPv4

รูปที่ 1  IP Header (ศุภามน วาณิชย์ก่อกุล,2548)

เฮดเดอร์ของ IP โดยปกติจะมีขนาด 20 bytes ยกเว้นในกรณีที่มีการเพิ่ม option บางอย่าง ฟิลด์ของเฮดเดอร์ IP จะมีความหมายดังนี้

1.  Version : หมายเลขเวอร์ชันของโปรโตคอล ที่ใช้งานในปัจจุบันคือ เวอร์ชัน 4 (IPv4) และเวอร์ชัน 6 (IPv6)

2.  Header Length : ความยาวของเฮดเดอร์ โดยทั่วไปถ้าไม่มีส่วน option จะมีค่าเป็น 5 (5*32 bit)

3.  Type of Service (TOS) : ใช้เป็นข้อมูลสำหรับเราเตอร์ในการตัดสินใจเลือกการเราต์ข้อมูลในแต่ละดาต้าแกรม แต่ในปัจจุบันไม่ได้มีการนำไปใช้งานแล้ว

4.  Length : ความยาวทั้งหมดเป็นจำนวนไบต์ของดาต้าแกรม ซึ่งด้วยขนาด 16 บิตของฟิลด์ จะหมายถึงความยาวสูงสุดของดาต้าแกรม คือ 65535 byte (64k) แต่ในการส่งข้อมูลจริง ข้อมูลจะถูกแยกเป็นส่วนๆตามขนาดของ MTU ที่กำหนดในลิงค์เลเยอร์ และนำมารวมกันอีกครั้งเมื่อส่งถึงปลายทาง แอพพลิเคชั่นส่วนใหญ่จะมีขนาดของดาต้าแกรมไม่เกิน 512 byte

5.  Identification : เป็นหมายเลขของดาต้าแกรมในกรณีที่มีการแยกดาต้าแกรมเมื่อข้อมูลส่งถึงปลายทางจะนำข้อมูลที่มี identification เดียวกันมารวมกัน

6.  Flag : ใช้ในกรณีที่มีการแยกดาต้าแกรม

7.  Fragment offset : ใช้ในการกำหนดตำแหน่งข้อมูลในดาต้าแกรมที่มีการแยกส่วน เพื่อให้สามารถนำกลับมาเรียงต่อกันได้อย่างถูกต้อง

8.  Time to live (TTL) : กำหนดจำนวนครั้งที่มากที่สุดที่ดาต้าแกรมจะถูกส่งระหว่าง hop (การส่งผ่านข้อมูลระหว่างเน็ตเวิร์ค) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการส่งข้อมูลโดยไม่สิ้นสุด โดยเมื่อข้อมูลถูกส่งไป 1 hop จะทำการลดค่า TTL ลง 1 เมื่อค่าของTTL เป็น 0 และข้อมูลยังไม่ถึงปลายทาง ข้อมูลนั้นจะถูกยกเลิก และเราเตอร์สุดท้ายจะส่งข้อมูล ICMP แจ้งกลับมายังต้นทางว่าเกิด time out ในระหว่างการส่งข้อมูล

9.  Protocol : ระบุโปรโตคอลที่ส่งในดาต้าแกรม เช่น TCP ,UDP หรือ ICMP

10.    Header checksum : ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในเฮดเดอร์

11.    Source IP address : หมายเลข IP ของผู้ส่งข้อมูล

12.    Destination IP address : หมายเลข IP ของผู้รับข้อมูล

13.    Data : ข้อมูลจากโปรโตคอลระดับบน

3. การเปลี่ยนจาก IPv4 ไปเป็น IPv6

                Version 4 ของ internet protocol หรือ IPv4 ได้ใช้งานมาเป็นเวลากว่า 25 ปี ซึ่งในขณะนี้จำนวนความต้องการในการใช้ internet connection ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ IPv6 คือ ทางเลือกใหม่ที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ กลุ่มที่กำหนดคุณลักษณะของIpv6 คือ IETF’s IPng และ NGtrans working group ซึ่งพวกเข้าได้พยายามหาวิธีการในการเปลี่ยนแปลงจาก IPv4 ไป IPv6 โดยที่ไม่มีผลกระทบอื่น ๆ ตามมเทคนิคการปรับเปลี่ยนจาก IPv4 สู่ IPv6 (Transition technology) มีอยู่ 3 หลัก

                3.1 Dual stacks

                3.2 Tunneling

                       - Manually Configured Tunnel

                       - Fully Automatic Tunnel (6 to4 Tunnel)

                3.3 Translation

3.1 Dual stacks

dual stack host สร้างขึ้นด้วย Ipv4 และ Ipv6 รวมอยู่ใน stack เดียวกันแต่ใช้เป็น protocol ร่วมกัน Host ที่ติดต่อกับ Ipv4 ก็ติดต่อด้วยข้างที่เป็น Ipv4 ส่วน Ipv6 ก็เช่นเดียวกัน เมื่อมีตัวเลือกให้เลือกทั้ง 2 อย่าง Host จึงจำเป็นที่จะเลือกว่าจะติดต่อด้วยProtocol ใด ซึ่งจะเพิ่มความสามารถให้กับระบบเครือข่ายมากยิ่งขึ้น

รูปที่ 2 แสดงการทำงานของ host ที่ใช้ dual stack (ธนชัย คงพูล,2547)

    • Dual stacks คือ การใช้งาน IPv4 และ IPv6 stack ควบคู่กันไป ภายในอุปกรณ์ตัวเดียวกัน

    • Dual stacks สามารถใช้ได้ทั้งที่ end host, server และอุปกรณ์เครือข่าย (network device) เช่น router

    • Dual stacks เป็นทางออกที่ง่ายที่สุดสำหรับเครือข่ายที่ต้องการเริ่มใช้งาน IPv6

    • Dual stacks ใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

    • Dual stacks เหมาะกับเครือข่ายติดต่อสองโหนด (node) ที่ใช้ Internet Protocol (IP) เวอร์ชั่นเดียวกัน

    • ต้องผ่านเครือข่ายกลางทางที่ใช้ IP Protocol คนละเวอร์ชั่น เช่น IPv4-IPv4 ผ่านเครือข่าย IPv6 หรือ IPv6-IPv6 ผ่านเครือข่าย IPv4

    • ในกรณีที่บางโหนดต้องการเปลี่ยนไปใช้ Protocol IPv6 แต่เครือข่ายที่เชื่อมต่ออยู่ด้วยไม่สนับสนุน IPv6 โหนดดังกล่าวสามารถใช้ Dual stacks เพื่อรองรับทั้ง IPv4และ IPv6

รูปที่ 3 แสดงการทำงานของ router ที่ใช้ dual stack (ธนชัย คงพูล,2547)

3.2 Tunneling

Tunneling เสนอวิธีการที่สะดวกในการจะติดต่อกับระบบเครือข่าย IPv6 ข้ามระบบเครือข่ายของ IPv4 ดังรูปที่ 3 ซึ่งได้แสดงวิธีการ packet encapsulation วิธีการนี้มีหลักการง่าย ๆ คือ เมื่อได้รับ packet IPv6 ก็เอา Header ของ IPv4 แปะเข้าไปแล้วก็ส่งผ่านไปยังท่อ(tunneling) เพื่อข้ามระบบเครือข่ายของ IPv4 เมื่อผ่านท่อนี้ไปได้แล้วก็แกะ Header ของIPv4 ออก ส่วนที่เหลือก็จะกลายเป็น packet IPv6

รูปที่ 4 แสดงแพกเก็ต IPv6 ซึ่งถูกแปลงเป็นแพกเก็ต IPv4 (ธนชัย คงพูล,2547)

รูปที่ 5 แสดงการทำ IPv6 packet encapsulation สำหรับ Tunneling (ธนชัย คงพูล,2547)

     • การทำ Tunnel สำหรับเครือข่าย IPv6 ต้องสร้างเส้นทางการติดต่อระหว่างเครื่องที่ใช้หมายเลข IPv6 ผ่านเครือข่ายที่ใช้หมายเลข IPv6

     • โดยเกตเวย์ (Gateway) ของเครือข่ายของเครื่องที่ใช้หมายเลข IPv6 จะทำหน้าที่ห่อหุ้มแพ็กเก็ต IPv6 ไว้ใน IPv4 ก่อนจะส่งไปในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สนับสนุนการใช้หมายเลข IPv4 เท่านั้น

     • โดยระหว่างทางจะดูหมายเลขต้นทางและปลายทางที่อยู่ในส่วนหัวของแพ็กเก็ต IPv4 เท่านั้นจะไม่สนใจส่วนที่อยู่ภายใน

     • เมื่อส่งไปถึงปลายทาง เกตเวย์จะถอดแพ็กเก็ต IPv4 ออกให้เหลือแต่แพ็กเก็ต IPv6 แล้วส่งไปยังเครื่องที่ใช้หมายเลข IPv6 ต่อไปนี้

      ข้อเสีย คือ encapsulation ทำให้แพ็กเก็ตมีขนาดใหญ่ขึ้น เป็นผลให้เครือข่ายมีoverhead สูงขึ้น นอกจากนี้การทำ Tunnel จำเป็นต้องใช้ Dual stacks ที่ตัวเกตเวย์ทั้งสองด้านของอุโมงค์

    - Tunneling : Manually Configured Tunnel

เป็นเครื่องมือที่พยายามปรับแต่งการเชื่อมต่อของอุโมงค์ ระหว่างระบบเครือข่าย IPv6 เพียง

อย่างเดียว ข้ามระบบเครือข่ายของ IPv4 ด้วยมือ

รูปที่ 6 แสดงการทำ Manually Configured Tunnel (ธนชัย คงพูล,2547)

     • Manually Configured Tunnel เป็นวิธีที่นิยมกันมากสำหรับการใช้บริการเชื่อมต่อกันระหว่างเครื่องที่ใช้และติดตั้งหมายเลข IPv6 เพียงอย่างเดียว

     • โดยที่ต้องมีเกตเวย์ที่ติดตั้งและใช้งานแบบ Dual stacks ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นอุโมงค์เครือข่ายทางเข้าและทางออก

     • โดยแต่ละด้านจะต้องเก็บหมายเลขไอพีของอุโมงค์เครือข่ายของอีกด้านที่ต้องการเชื่อมต่อ

     • เชื่อมต่อ ซึ่งผู้ดูแลระบบจะต้องใส่หมายเลข IP address ของปลายทางอุโมงค์เข้าไปเอง

     • วิธีนี้จึงต้องการการดูแลสูง

     - Tunneling : Fully Automatic Tunnel (6to4 Tunnel)

เป็นเครื่องมือที่พยายามปรับแต่งการเชื่อมต่อของอุโมงค์ ระหว่างระบบเครือข่าย IPv6 เพียง

อย่างเดียว ข้ามระบบเครือข่ายของ IPv4 โดยอัตโนมัติ

รูปที่ 7 แสดงการทำ Fully Automatic Tunnel (ธนชัย คงพูล,2547)

     • ทำงานแบบ Fully Automatic มีขั้นตอนการทำงานเหมือนกัน Manually Configured Tunnel

     • แต่จะแตกต่างกันตรงที่ tunnel แต่ละด้านไม่ต้องเก็บหมายเลขไอพี ของเกตเวย์ปลายทางที่ต้องการเชื่อมต่อ

     • แต่ละเกตเวย์ จะตรวจสอบหมายเลขเครื่องปลายทางโดยพิจารณาจากหมายเลขปลายทางของแพ็กเก็ตที่ถูกห่อหุ้มอยู่

     • หนึ่งในการทำ Fully Automatic คือ วิธีที่เรียกว่า 6to4 Tunnel เครือข่ายที่เชื่อมต่อแบบ 6to4 Tunnel จะต้องกำหนดหมายเลข IPv6 Prefix พิเศษให้กับตัวเกตเวย์ทั้งสองฝั่งของ 6to4 Tunnel

     • Prefix นี้จะขึ้นต้อนด้วย 2002 และจะต้องมี IPv4 address ที่อยู่ในรูปเลขฐานสิบหกตามมา

     • เพราะฉะนั้น Prefix ต้องมีความยาวอย่างน้อย 48 บิต ตามรูปแบบ 2002:<IPv4 in hex>::/48 ตัวอย่างเช่น หาก IPv4 address ของเกตเวย์คือ 202.57.124.186 (แปลงเป็นเลขฐานสิบหกได้ CA39:7CBA) IPv6 address ของเกตเวย์อาจเป็น2002:CA39:7CBA::1/48 การกำหนด Prefix วิธีนี้จะทำให้ทราบหมายเลข IPv4ของเกตเวย์ปลายทางได้โดยอัตโนมัติ

3.3 Translation

รูปที่ 8 แสดงการใช้งาน Header Translation เมื่อเครือข่ายเปลี่ยนเป็น IPv6 แล้ว (ธนชัย คงพูล,2547)

รูปที่ 9 แสดงขั้นตอนการทำงานของ Header Translation (ธนชัย คงพูล,2547)

       • เทคนิคการทำ Translation เป็นวิธีที่ใช้กับการสื่อสารข้ามเครือข่าย เช่น โหนดจากเครือข่าย IPv4ต้องการคุยกับเซิร์ฟเวอร์ ในเครือข่าย IPv6 หรือ โหนดที่เป็น IPv6 ต้องการคุยกับเซิร์ฟเวอร์ ที่เป็น IPv4

       • หรือการทำ Translation คือการเปลี่ยนแปลงข้อมูลไปมาระหว่างข้อมูลในรูปแบบของ IPv4 และ IPv6

      • เป็นกรณีที่ต่างไปจากการใช้งาน Dual stacks และ Tunnel

       • การแปลงข้อมูลนี้สามารถทำได้หลายระดับ เช่น Network layer, Transport layer,หรือ Application layer

      • ไม่ว่าจะทำการแปลงข้อมูลที่ระดับไหน องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นคือส่วนที่ทำหน้าที่แปลงหมายเลข IP address หรือ Address translation ซึ่งการแปลงหมายเลขสามารถทำได้โดยการจัดเก็บคู่หมายเลข IPv4 และ IPv6 address ทุกคู่ในเครือข่าย เราเรียกวิธีนี้ว่า Stateful address translation หรือจะทำการแปลงแบบอัตโนมัติ ที่เรียกว่า Stateless address translator ก็ได้

4. การเปรียบเทียบโครงสร้างทางเทคนิค IPv4 และ IPv6

ตารางที่ 2 เปรียบเทียบโครงสร้างทางเทคนิคของ  IPv4  และ  IPv6  (โชติพัชร์ ภรณวลัย,2549)

5. การประยุกต์ใช้งาน IPv4

                หลักการของการติดต่อสื่อสารในรูปแบบอินเตอร์เน็ต คือ ทั้ง Internet ข้อมูล (data) ภาพ และ เสียง จะถูกจัดให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน คือรูปแบบอินเตอร์เน็ต (Internet Protocol: IP) ทำให้สามารถส่งข้อมูล data ต่างๆ ทุกประเภทไปพร้อมๆ กับการส่งข้อมูลภาพ และเสียงได้ และสามารถกระจายสัญญาณสู่ผู้ใช้งานได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านโครงข่ายการกระจายสัญญาณแบบเดิมๆ การติดต่อสื่อสารในรูปแบบอินเตอร์เน็ตนี้มีรูปแบบการให้บริการเป็นการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง (Two-way communication)  การใช้งานในรูปแบบของ IP มีตัวอย่างการให้บริการดังนี้

5.1 การกระจายสัญญาณวิทยุ-โทรทัศน์ (Radio and television Broadcasting)

Video On Demand Application นอกจากการรับชมโทรทัศน์ปกติ (แบบ Broadcast) แล้ว ยังสามารถเลือกรับรายการที่ต้องการชมมาเก็บเอาไว้ใน hard drive แล้วชมในภายหลัง (ใช้การกระจายสัญญาณแบบ Multicast) หรือ เลือกรายการที่ต้องการไว้ล่วงหน้า (ใช้การกระจายสัญญาณแบบ Unicast Mode) ตัวอย่างคือ เพ็กเกตการให้บริการวีดิโอ ให้กับแต่ละตำบล หรือ หมู่บ้าน

รูปที่  10  การทำงานของ Video On Demand Application (วิชาการ.คอม)

5.2 ระบบโทรศัพท์ผ่าน IP (Voice Over Internet Protocol :VOIP)

VoIP-Voice Over IP หรือที่เรียกกันว่า “VoIP Gateway” หมายถึง การส่งเสียงบนเครือข่ายไอพี เป็นระบบที่แปลงสัญญาณเสียงในรูปของสัญญาณไฟฟ้ามาเปลี่ยนเป็นสัญญาณดิจิตอล คือ นำข้อมูลเสียงมาบีบอัดและบรรจุลงเป็นแพ็กเก็ต ไอพี (IP) แล้วส่งไปโดยมีเราเตอร์ (Router) ที่เป็นตัวรับสัญญาณแพ็กเก็ต และแก้ปัญหาบางอย่างให้ เช่น การบีบอัดสัญญาณเสียง ให้มีขนาดเล็กลง การแก้ปัญหาเมื่อมีบางแพ็กเก็ตสูญหาย หรือได้มาล่าช้า (delay)

การสื่อสารผ่านทางเครือข่ายไอพีต้องมีเราเตอร์ (Router) ที่ทำหน้าที่พิเศษเพื่อประกันคุณภาพช่องสัญญาณไอพีนี้ เพื่อให้ข้อมูลไปถึง ปลายทางหรือกลับมาได้อย่างถูกต้อง และอาจมีการให้สิทธิพิเศษก่อนแพ็กเก็ตไอพีอื่น (Quality of Service : QoS) เพื่อการให้บริการที่ทำให้เสียงมีคุณภาพ

รูปที่  11  การทำงานของ VOIP (วิชาการ.คอม)

นอกจากนั้น Voice over IP (VoIP) ยังเป็นการส่งข้อมูลเสียงแบบ 2 ทางบนระบบเครือข่ายแบบ packet-switched IP network. ซึ่งข้อมูลนี้จะถูกส่งผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสาธารณะ เพื่อสื่อสารระหว่าง VoIP ด้วยกัน โดยที่ยังคงความเป็นส่วนตัวไว้ได้  สำหรับการใช้งานเทคโนโลยี VoIP นั้น จริงๆ แล้วทุกๆ องค์กรสามารถนำเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ใช้งานได้ แต่สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงและน่าจะได้รับประโยชน์จากการนำเทคโนโลยี VoIP มาประยุกต์ใช้งานมากที่สุด ได้แก่... กลุ่มธุรกิจขนาดย่อม หรือ SME (Small/Medium Enterprise) รวมถึงกลุ่ม ISP (Internet Service Provider) ต่างๆ สำหรับกลุ่มธุรกิจ SME อาจจะต้องเป็นกลุ่มที่มีระบบเครือข่ายข้อมูลของตนเองอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเครือข่าย Leased Line, Frame Relay, ISDN หรือแม้กระทั่งเครือข่าย E1/T1 ก็ตาม รวมถึงมีระบบตู้สาขาโทรศัพท์ในการใช้งานด้วย การนำเทคโนโลยี VoIP มาใช้งานนั้นจะทำให้องค์กรลดค่าใช้จ่ายในการใช้งานการสื่อสารสัญญาณเสียงไปได้อย่างมาก และเนื่องด้วยในปัจจุบันการขยายตัวของระบบเครือข่ายสัญญาณข้อมูล หรือ Data Network มีอัตราการเติบโตที่รวดเร็วกว่าการขยายตัวของเครือข่ายสัญญาณเสียงค่อนข้างมาก จึงทำให้มีการนำเทคโนโลยีที่สามารถนำสัญญาณเสียงเหล่านั้นมารวมอยู่บนระบบเครือข่ายของสัญญาณข้อมูลและมีการรับ-ส่งสัญญาณทั้งคู่ได้ในเวลาเดียวกัน เพื่อเป็นการสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นค่าโทรศัพท์ทางไกลต่างจังหวัด หรือรวมถึงค่าโทรศัพท์ทางไกลต่างประเทศด้วยถ้าหากองค์กรนั้นมีสาขาอยู่ในต่างประเทศด้วย   สำหรับกลุ่มธุรกิจ ISP นั้นสามารถที่จะนำเทคโนโลยี VoIP นี้มาประยุกต์ใช้งานเพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในธุรกิจของตนเองมากยิ่งขึ้น โดยทาง ISP ต่างๆ นั้นสามารถให้บริการ VoIP เพื่อเป็นบริการเสริมเพิ่มเติมขึ้นมาจากการให้บริการระบบเครือข่าย Internet แบบปกติธรรมดา หรือที่เราเรียกว่า Value Added Services ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างความแตกต่างและเพิ่มทางเลือกในการให้บริการกับกลุ่มลูกค้าด้วย

5.3 การให้บริการด้านอินเตอร์เน็ต

การให้บริการด้านอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง สามารถให้บริการได้ไม่จำกัดระยะทาง (เมื่อเทียบกับ ADSL ที่ความเร็วของอินเตอร์เน็ตที่สามารถให้บริการจะขึ้นอยู่กับระยะทางที่ห่างจากชุมสาย (HUB) และการติดต่อสื่อสารในรูปแบบ IP นี้ยังทำให้ผู้ใช้งานสามารถรับบริการอินเตอร์เน็ตตามบ้านเรือนได้โดยตรง  

5.4 การให้บริการแบบ Triple Play: Video Voice และ Data

                เป็นความสามารถของการใช้ส่งข้อมูลแบบ IP สามารถใช้งานพร้อมๆ กัน ระหว่าง

                1. Internet มีการใช้งานในรูปแบบอินเตอร์เน็ตที่มีความเร็วสูงสามารถส่งข้อมูลได้หลายประเภทบนเครือข่ายไม่ว่าจะเป็นภาพ  เสียง เป็นต้น

                2. โทรศัพท์  เป็นการพัฒนาการส่งสัญญาณเสียงในรูปแบบ Analog ในรูปแบบ Digital ซึ่งสามารถส่งข้อมูลในรูปแบบของ IP บนเครือข่าย Internet ได้ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้กับโทรศัพท์ที่มองเห็นภาพผู้โทรมาได้

                3. โทรทัศน์(ภาพ) การปรับปรุงโทรทัศน์ที่ใช้กันอยู่ตามบ้านกลายมาเป็น TV รองรับบริการที่หลากหลายบนโครงข่าย IP Network

5.5 การประชุมทางไกล (Video Teleconference)

     Video Teloconference หรือการประชุมทางไกล ถูกออกแบบมาเพื่อให้คนหรือกลุ่มคน ซึ่งอยู่กันคน ละสถานที่สามารถติดต่อกันได้ทั้งภาพและเสียง โดยผ่านทางจอภาพซึ่งอาจเป็นคอมพิวเตอร์หรือโทรทัศน์ ผู้ชมที่ฝั่งหนึ่งจะเห็นภาพของ อีกฝั่งหนึ่งปรากฏอยู่บนจอโทรทัศน์ของตัวเองและ ภาพของตัวเองก็จะไปปรากฏยังโทร ทัศน์ของฝั่งตรงข้ามเช่นเดียวกัน คุณภาพของภาพและเสียงที่ได้จะขึ้นอยู่กับความเร็ว ของช่องทางสื่อสารที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างทั้งสองฝั่ง อุปกรณ์ที่ต้องมีในระบบประชุมทางไกลนี้ ก็ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์, ลำโพง, ไมโครโฟน, กล้อง และอุปกรณ์ Codec ซึ่งเป็นตัวเข้ารหัสสัญญาณภาพและเสียงที่ได้จากกล้อง และไมโครโฟน ส่งผ่านเส้นทางสื่อสารไปยังอีกฝั่งหนึ่ง และรวมไปถึงการถอดรหัสสัญญาณที่ได้รับมาอีกฝั่งให้กลับเป็นสัญญาณภาพและ เสียงแสดงบนจอและลำโพงนั่นเอง เส้นทางสื่อสารขนาด 384 Kbps ขึ้นไปก็สามารถให้คุณภาพภาพในระดับที่ยอมรับได้ โดยอาจใช้ผ่านทางเครือข่าย ISDN หรือ ATM เป็นต้น ข้อดีของการประชุมทางไกลคือ สามารถให้ความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร กัน ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งจะประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย และ ยังช่วยแก้ปัญหาจราจรด้วย

รูปที่  12  Video Teleconference-การประชุมทางไกล (วิชาการ.คอม)

5.6  การศึกษาทางไกล (Tele-Education)

      Tele-Education หมายถึงการเรียนการสอนโดยที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่คนละสถานที่ มีการใช้สื่อทางอิเล็กโทรนิกส์เป็นตัวช่วยในการสอน เทคโนโลยีที่ใช้ในการเรียนการสอน ทางไกล เช่น การเรียนการสอนผ่านระบบการประชุมทางไกล(Teleconference) ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับการทำ Video Teleconference คือ ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ผ่านทางภาพจากจอโทรทัศน์และเสียง ใช้ความสามารถทางเทคโนโลยีส่งภาพและเสียงแทนที่จะต้องเดินทางไปยังสถานที่นั้นจริง ๆ นักเรียนในห้องเรียนที่ห่างไกลไม่เพียงแต่ได้ยินเสียงเท่านั้น แต่สามารถเห็นอากัปกิริยาของผู้สอน เช่น การแสดงออกที่หน้าตา การเคลื่อนไหวของริมฝีปาก ตลอดจนภาษาร่างกาย (Body language) ซึ่งมีความสำคัญในบางวิชา เป็นต้น อีกเทคโนโลยีหนึ่งที่ใช้ในการเรียนการสอนทางไกลก็คือการเรียนการสอนทางไกลผ่าน เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่ง ได้แก่ การศึกษาจากอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ขนาดมหาศาล เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดมหึมาที่เก็บข้อมูลที่ทั้งมากและทันสมัย นอกจากนั้นยังสามารถมีระบบ“ศึกษาเมื่อต้องการา ซึ่งใช้ระบบเดียวกับระบบวิดีโอตามสั่ง (VOD) โดยการเลือกบทเรียนวิดีโอจากคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็น Video Server ได้ ทำให้นักศึกษา สามารถทบทวนบทเรียนได้ทุกเวลาด้วยตนเองตามความต้องการ

ข้อดีของการศึกษาทางไกลคือ ทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษาโดยเฉพาะในเขตชุมชนที่ห่างไกล ลดปัญหาการ ขาดแคลนครูอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญในบางสาขาวิชา อีกทั้งยังช่วยให้มีคุณภาพและมาตร ฐานการเรียนการสอนที่ดีขึ้นด้วย

6. แนวโน้มในอนาคต

                การใช้งานระบบเครือข่ายในปัจจุบันนั้นจะมีการใช้ Protocol ที่เป็นมาตรฐานในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันซึ่ง IP ( Internet Protocol ) ก็เป็น Protocol ที่ถูกใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากในปัจจุบัน IP เป็น Protocol ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับระบบ Internet  การใช้ IP Protocol ในเริ่มแรกนั้นเริ่มมีการใช้จาก IPv4 ซึ่งสามารถรองรับความต้องการของ IP ทั้งหมดได้ถึง 4,200 ล้านไอพี แต่อย่างไรก็ตามจำนวน IP ที่ IPv4 รองรับได้นั้นคงไม่เพียงพอกับความต้องการของระบบเครือข่ายภายในอนาคต ในปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนา IPv6 ขึ้นมาเพื่อรองรับความต้องการของระบบเครือข่ายที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตถึงแม้ว่าในปัจจุบันระบบ IP Protocol จะยังมีการใช้ IPv6 ในบริเวณบางส่วนเท่านั้นแต่แนวโน้มที่จะมีการเปลี่ยน IPv4 มาเป็น IPv6 นั้นมากขึ้นภายในอนาคตซึ่งการพัฒนาของ IP Protocol คงมีการพัฒนาเป็น Version อื่นขึ้นมาอีกเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างกัน

แหล่งอ้างอิง

chrome://newtabhttp//www.nattapon.com/2011/07/what-is-ipv4-ipv6/ 

http://supaporn1263.blogspot.com/2012/07/ipv4-ipv6-127.html

IPv6 คืออะไร

เรียนรู้เกี่ยวกับ IPv6

IPv6 คือคำย่อของ ""Internet Protocol Version 6" IPv6 คือโปรโตคอลรุ่นล่าสุดของอินเตอร์เน็ต ออกแบบมาเพื่อแทนที่โปรโตคอลอินเตอร์เน็ตปัจจุบัน ซึ่งเป็น IP เวอร์ชั่น 4

เพื่อให้สามารถสื่อสารกับผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ จะต้องมีที่อยู่ของผู้ส่งและผู้รับ ที่อยู่ที่เป็นตัวเลขเหล่านี้รู้จักกันในนามของที่อยู่โปรโตคอลอินเตอร์เน็ต ในขณะที่อินเตอร์เน็ตและจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ ความต้องการสำหรับที่อยู่ IP ก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

IPv6 คือมาตรฐานที่พัฒนาขึ้นโดย Internet Engineering Task Force ซึ่งเป็นองค์กรที่พัฒนาเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตต่างๆ IETF ได้เตรียมรับมือกับความต้องการที่อยู่ IP ที่เพิ่มขึ้น จึงได้สร้าง IPv6 เพื่อปรับตัวให้เข้ากับจำนวนผู้ใช้และอุปกรณ์ที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น 

IPv6 ทำให้ผู้ใช้และอุปกรณ์จำนวนมากขึ้นสามารถสื่อสารกันบนอินเตอร์เน็ตได้ด้วยการใช้ตัวเลขที่มากขึ้นเพื่อสร้างที่อยู่ IP ภายใต้ IPv4 ทุกๆ ที่อยู่ IP จะยาวเท่ากับ 32 บิต ซึ่งทำให้ได้ที่อยู่ที่ไม่ซ้ำกัน 4.3 พันล้านที่อยู่ ตัวอย่างของที่อยู่ IPv4 คือ:

172.16.254.1

เมื่อเปรียบเทียบกัน ที่อยู่ IPv6 จะเท่ากับ 128 บิต ซึ่งจะทำให้ได้ที่อยู่ IP โดยประมาณถึงสามร้อยสี่สิบล้านล้านล้านล้านที่อยู่ที่ไม่ซ้ำกัน ตัวอย่างของที่อยู่ IPv6 คือ:

2001:db8:ffff:1:201:02ff:fe03:0405

IPv6 ให้ความได้เปรียบด้านเครือข่ายอื่นๆ ส่วนใหญ่แล้ว คอมพิวเตอร์และแอปพลิเคชั่นจะตรวจหาและใช้ประโยชน์เครือข่ายและบริการที่เปิดใช้งาน IPv6 โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไรเลย IPv6 ยังช่วยบรรเทาปัญหาเครือข่ายอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากจำนวนที่จำกัดของที่อยู่ที่มีให้บน IPv4 ได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น IPv6 จะลดความจำเป็นในการแปลที่อยู่เครือข่าย ซึ่งเป็นบริการที่ทำให้ลูกข่ายหลายเครื่องแชร์ที่อยู่ IP เดียว แต่ก็เชื่อถือไม่ได้เสมอไป

·         เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อของ IPv6 ของคุณ คุณสามารถไปที่ ทดสอบ IPv6 ของคุณ

ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ผลิตโดย Apple หรือเว็บไซต์อิสระที่ไม่ได้ควบคุมหรือทดสอบโดย Apple มีให้โดยไม่มีคำแนะนำหรือการรับรองใดๆ Apple ไม่ขอรับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือก ประสิทธิภาพ หรือการใช้งานเว็บไซต์หรือผลิตภัณฑ์ของบริษัทอื่น Apple ไม่รับรองความถูกต้องหรือความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ของบริษัทอื่น ความเสี่ยงต่างๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ ติดต่อผู้จำหน่ายสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ชื่อบริษัทและชื่อผลิตภัณฑ์อื่นอาจเป็นเครื่องหมายการค้าของเจ้าของแต่ละราย

มาทำความรู้จักกับ OSI MODEL 7 LAYERS กันดีกว่า !!!

โพสต์2 ก.พ. 2560 22:24โดยนายจักรกริช อาจแก้ว   [ อัปเดต 8 ก.พ. 2560 20:45 ]

สวัสดีครับ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ OSI กันดีกว่า ว่ามันคืออะไร ?

การทำงานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แต่เดิมนั้น การติดต่อสื่อสารกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็จะถูกใช้งานภายใต้ผู้ผลิตเจ้านั้นๆ ยกตัวให้เห็นภาพอย่างง่ายๆ เช่น

– Software ของ Apple ต้องลงบนเครื่อง Apple

– Software ของ Microsoft ต้องลงบน Windows

แบบนี้ เราจะเรียกว่าเป็น Proprietary แปลได้ว่า เป็นของผมแต่เพียงผู้เดียว ทำให้ถ้าเราต้องการที่จะใช้งานหลายๆบริษัทผู้ผลิต (Multi-Vendors) ก็จะไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้ (Not Compatible)

จึงมีองค์กรต่างที่มากำหนดมาตรฐานต่างๆขึ้นสำหรับการสื่อสารบนเครือข่าย เช่น IETF , IEEE และอื่นๆ เพื่อให้ผู้ผลิตแต่ละรายนั้นสามารถผลิตอุปกรณ์ พัฒนา software หรือ protocol ได้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน และสามารถใช้งานร่วมกันได้

มาพูดถึง OSI Model กันบ้าง

องค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศ (The International Organization for Standardization) หรือที่เราเรียกย่อๆว่า ISO (ไอโซ่) ได้พัฒนา Model ของการทำงานบนระบบเครือข่ายขึ้นมาเป็นมาตรฐานกลาง ในปัจจุบันใช้เพื่ออ้างอิงการสื่อสารและเปรียบเทียบการทำงานบนเครือข่าย ผู้ผลิตหลายๆบริษัท ที่ผลิตอุปกรณ์หรือ software ต่างๆขึ้นมาก็จะต้องผลิตตามมาตรฐานที่กำหนดขององค์ที่ดูแลในแต่ละส่วน ซึ่ง Model นี้ก็ถูกนำมาใช้มาเปรียบเทียบเพื่อให้เข้าใจและอธิบายการทำงานของแต่ละส่วนได้ง่ายขึ้น !!!  ผมยกตัวอย่างของคำว่ามาตรฐานให้ดูง่ายๆครับ เช่น

เวลาขับรถเกียร์ออโต้ เราเข้าไปที่เกียร์ D ก็คือ ไปข้างหน้า เข้าไปที่เกียร์ R ก็ถอยหลัง ไม่ว่าเราจะซื้อยี่ห้อไหนมา ก็จะถูกออกแบบให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

และ Model ที่ผมพูดถึงนี้เรียกว่า Open System Interconnection (OSI) นั่นเอง !!!

อย่างที่ผมบอกนะครับ OSI Model เป็นเพียง Model ที่ใช้อ้างอิงในการสื่อสารเท่านั้น ปัจจุบันโลกเครือข่ายเราใช้งานบน TCP/IP เป็นหลักครับ แต่ที่ยังพูดถึง OSI Model เพราะว่า การแบ่งเป็น Layer ของมันสามารถมองเป็นภาพกว้างของการทำงานบนเครือข่ายในแต่ละส่วนได้ เพื่อมาใช้ในการสอน ในการอธิบาย และในการแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้นครับ

ผมจะไม่ย้อนไปพูดถึงประวัติของมันนะครับ

 

OSI Model ใช้อ้างอิงการสื่อสาร (Reference Model) แบ่งออกเป็นชั้น (Layer) โดยมีตั้งแต่ชั้นที่ 1 ถึงสวรรค์ชั้น 7 (Layer 1 – 7) โดย Layer 1 จะอยู่ด้านล่างสุด และเรียงขึ้นไปจนถึง Layer 7 แต่ละ Layer ก็มีชื่อเรียกตามรูปแบบการสื่อสารและการทำงานของมันในแต่ละชั้นนั่นเอง

บน OSI Model ก็จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

โดยส่วนมากเราจะวุ่นวายกันอยู่ที่ Lower Layer มากกว่า Upper Layer ครับ ใครที่ทำงานเป็น Network Engineer จะมองภาพออกครับว่า เราจะยุ่งอยู่กับ Lower Layer มากกว่า

ทีนี้เรามาดูกันว่าในแต่ละ Layer มันมีหน้าที่อะไรบ้าง

Layer 1 (Physical Layer)

เป็น ชั้นล่างสุด จะมีการกำหนดคุณสมบัติทางกายภาพของฮาร์ดแวร์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่าง คอมพิวเตอร์ทั้งสองระบบ เช่น

ข้อมูลใน Layer ที่ 1 นี้จะมองเห็นเป็นการรับส่งข้อมูลทีละบิตเรียงต่อกันไป

จากรูปแสดงถึงการส่งข้อมูลบน Physical layer ครับ แสดงให้เห็นว่า ข้อมูลจะมาเป็นอย่างไรก็ตาม ก็จะถูกแปลงเป็นสัญญาณเพื่อส่งไปยังปลายทาง แล้วฝั่งปลายทางก็จะนำสัญญาณที่รับมาแปลงกลับเป็นข้อมูลเพื่อส่งให้เครื่อง Client ต่อไป

ยังไม่ได้พูดถึงการส่งข้อมูลบน OSI นะครับ เอาไว้รอบหน้า ตรงนี้ผมอยกขึ้นมาเพื่อให้เห็นภาพเบื้องต้น

เพราะ ฉะนั้น อุปกรณ์ต่างๆที่มีความสามารถในการนำพาสัญญาณไป ก็พวก  Card LAN (NIC) , สาย UTP , สาย Fiber หรือพวก เต้าเสียบ หัวต่อต่างๆ RJ45 , RJ11 , RS323 ก็จัดอยู่ใน Physical Layer ครับ

Layer 2 (Data-Link Layer)

เป็นชั้นที่ทำหน้ากำหนดรูปแบบของการส่งข้อมูลข้าม Physical Network โดยใช้ Physical Address อ้างอิงที่อยู่ต้นทางและปลายทาง ซึ่งก็คือ MAC Address นั่นเอง รวมถึงทำการตรวจสอบและจัดการกับ error ในการรับส่งข้อมูล ข้อมูลที่ถูกส่งบน Layer 2 เราจะเรียกว่า Frame

ซึ่งบน Layer 2 ก็จะแบ่งเป็น LAN และ WAN ครับ

ซึ่ง ปัจจุบัน บน Layer 2 LAN เรานิยมใช้เทคโนโลยีแบบ Ethernet มากที่สุด ส่วน WAN ก็จะมีหลายแบบแตกต่างกันไป เช่น Lease Line (HDLC , PPP) , MPLS , 3G และอื่นๆ

สำหรับ LAN ยังมีการแบ่งย่อยออกเป็น 2 sublayers คือ

Logical Link Control (LLC)

IEEE 802.2 ซึ่งจะให้บริการกับ Layer ด้านบนในการเข้าใช้สัญญาณใน การรับ-ส่งข้อมูล ตามมาตรฐาน IEEE802 แล้ว จะอนุญาตให้สถาปัตยกรรมของ LAN ที่ต่างกันสามารถทำงานร่วมกันได้ หมายความว่า  Layer ด้านบนไม่จำเป็นต้องทราบว่า Physical Layer ใช้สายสัญญาณประเภทใดในการรับ-ส่งข้อมูล เพราะ LLC จะรับผิดชอบในการปรับ Frame ข้อมูลให้สามารถส่งไปได้ในสายสัญญาณประเภทนั้นได้ และไม่จำเป็นต้องสนใจว่าข้อมูลจะส่งผ่านเครือข่ายแบบไหน เช่น Ethernet , Token Ring บลาๆๆ และไม่จำเป็นต้องรู้ว่าการส่งผ่านข้อมูลใน Physical Layer จะใช้การรับส่งข้อมูล แบบใด LLC จะเป็นผู้จัดการเรื่องเหล่านี้ได้ทั้งหมดครับ

Media Access Control (MAC)

IEEE 802.3 ใช้ควบคุมการติดต่อสื่อสารกับ Layer 1 และรับผิดชอบในการรับ-ส่งข้อมูลให้สำเร็จและถูกต้อง โดยมีการระบุ MAC Address ของอุปกรณ์เครือข่าย ซึ่งใช้อ้างอิงในการส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง เช่น

จาก ต้นทางส่งมาจาก MAC Address หมายเลข AAAA:AAAA:AAAA ส่งไปหาปลายทางหมายเลข BBBB:BBBB:BBBB เมื่อปลายทางได้รับข้อมูลก็จะรู้ว่าใครส่งมา เพื่อจะได้ตอบกลับไปถูกต้อง นั่นเอง

บน Ethernet (IEEE802.3) เมื่อมันมีหน้าที่ในการรับผิดชอบการรับ-ส่งข้อมูลให้สำเร็จและถูกต้อง มันจึงมีการตรวจสอบข้อผิดพลาดในการส่งข้อมูลด้วย ที่เราเรียกว่า Frame Check Sequence (FCS) และยังตรวจสอบกับ Physical ด้วยว่าช่องสัญญาณพร้อมสำหรับส่งข้อมูลไหม ถ้าว่างก็ส่งได้ ถ้าไม่ว่างก็ต้องรอ กลไลนี่เรารู้จักกันในชื่อ CSMA/CD นั่นเองครับ

CSMA/CD มันก็คือกลไลการตรวจสอบการชนกันของข้อมูล บน Ethernet ถ้าเกิดมีการชนกันเกิดขึ้น มันก็จะส่งสัญญาณ (jam signal) ออกไปเพื่อให้ทุกคนหยุดส่งข้อมูล แล้วสุ่มรอเวลา (back off) เพื่อส่งใหม่อีกครั้ง

Layer 3 (Network Layer)

ทำหน้าที่ส่งข้อมูลข้ามเครือข่าย หรือ ข้าม network โดยส่งข้อมูลผ่าน Internet Protocol (IP) โดยมีการสร้างที่อยู่ขึ้นมา (Logical Address) เพื่อใช้อ้างอิงเวลาส่งข้อมูล เราเรียกว่า IP address ข้อมูลที่ถูกส่งมาจากต้นทาง เพื่อไปยังปลายทาง ที่ไม่ได้อยู่บนเครือข่ายเดียวกัน จำเป็นจะต้องพึ่งพาอุปกรณ์ที่ทำงานบน Layer 3 นั่นก็คือ Router หรือ Switch Layer 3 โดยใช้ Routing Protocol (OSPF , EIGRP) เพื่อหาเส้นทางและส่งข้อมูลนั้น (IP) ข้ามเครือข่ายไป

โดยการทำงานของ Internet Protocol (IP) เป็นการทำงานแบบ Connection-less หมายความว่า IP ไม่มีการตรวจสอบข้อมูลว่าส่งไปถึงปลายทางไหม แต่มันจะพยายามส่งข้อมูลออกไปด้วยความพยายามที่ดีที่สุด (Best-Effort) เพราะฉะนั้น ข้อมูลที่ส่งออกไปแล้วไม่ถึงปลายทาง ต้นทางก็จะไม่รู้เลย ถ้าส่งไปแล้วข้อมูลไม่ถึงปลายทาง ฝั่งต้นทางจะต้องทำการส่งไปใหม่ บน Layer 3 จึงมี Protocol อีกตัวนึงเพื่อใช้ตรวจสอบว่าปลายทางยังมีชีวิตอยู่ไหม ก่อนที่จะส่งข้อมูล นั่นคือ ICMP ครับ แต่ผู้ใช้งานจะต้องเป็นคนเรียกใช้ protocol ตัวนี้เองนะครับ

จริงๆ แล้ว ก็ยังมีรายละเอียดของ ICMP , ARP อีกที่ทำงานบน Layer 3 แต่เบื้องต้น เอาไว้เท่าที่ก่อนละกันครับ สำหรับ Layer 3

Layer 4 (Transport Layer)

ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับ Upper Layer ในการใช้งาน network services ต่างๆ หรือ Application ต่าง จากต้นทางไปยังปลายทาง (end-to-end connection) ในแต่ละ services ได้ โดยใช้ port number ในการส่งข้อมูลของ Layer 4 จะใช้งานผ่าน protocol 2 ตัว คือ TCP และ UDP

เมื่อข้อมูลถูกส่งมาใช้งานผ่าน services Telnet ไปยังปลายทางถูกส่งลงมาที่ Layer 4 ก็จะทำการแยกว่า telnet คือ port number 23 เป็น port number ที่ใช้ติดต่อไปหาปลายทาง แล้วฝั่งต้นทางก็จะ random port number ขึ้นมา เพื่อให้ปลายทางสามารถตอบกลับมาได้เช่นเดียวกัน

ทีนี้เรามาดู protocol 2 ตัว ใน Layer 4 กันต่อครับ

Transmission Control Protocol (TCP) มีคุณลักษณะที่สำคัญ ดังนี้

บน TCP ก่อนจะส่งข้อมูลนั้นจะต้องทำการตรวจสอบก่อนว่า ปลายทางสามารถติดต่อได้ โดยจะทำการสร้างการเชื่อมต่อระหว่างผู้ส่งและผู้รับก่อน โดยใช้กลไล Three-Way Handshake เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ส่งจะสามารถส่งถึงผู้รับแน่นอน

นอกจาก Three-Way Handshake แล้ว TCP ยังมีกลไก Flow Control เพื่อควบคุมการส่งข้อมูลเมื่อเกิดปัญหาบนเครือข่ายระหว่างที่ส่งข้อมูลอยู่ หรือ กลไล Error Recovery ในกรณีที่มีข้อมูลบางส่วนหายไปขณะส่ง ก็ให้ทำการส่งมาใหม่ (Retransmission) แต่ผมขอพูดเรื่องกลไลต่างๆไว้เพียงเบื้องต้นละกันนะครับ

นอก จากนั้นยังสามารถทำการจัดสรรค์หรือแบ่งส่วนของข้อมูลออกเป็นส่วนๆ (Segmentation) ก่อนที่จะส่งลงไปที่ Layer 3 อีกด้วย และข้อมูลที่ถูกแบ่งออก ก็จะใส่ลำดับหมายเลขเข้าไป (Sequence number) เพื่อให้ปลายทางนำข้อมูลไปประกอบกันได้อย่างถูกต้อง

User Datagram Protocol (UDP) มีคุณลักษณะที่สำคัญ ดังนี้

บน UDP จะตรงข้ามกับ TCP เลยครับ เพราะ ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อกันก่อน หมายความว่าถ้า services ใดๆ ใช้งานผ่าน UDP ก็จะถูกส่งออกไปทันทีด้วยความพยายามที่ดีที่สุด (ฺBest-Effort) และไม่มีการส่งใหม่เมื่อข้อมูลสูญหาย (No Recovery) หรือส่งไม่ถึงปลายทางอีกด้วย

ข้อดีของมันก็คือ มีความรวดเร็วในการส่งข้อมูล เพราะฉะนั้น services ที่ใช้งานผ่าน UDP ก็มีมากมาย เช่น TFTP , DHCP , VoIP และอื่นๆ เป็นต้น

ผมชอบภาพนี้ เพราะเปรียบเทียบการทำงานของ TCP และ UDP ได้เห็นภาพดีเหมือนกันครับ

อ้าวๆๆ เหนื่อยกันหรือยังครับ ผ่านไปแล้ว สำหรับ Lower Layer นะครับ คือ Layer 1 –  4 ซึ่งส่วนมากแล้วชาว Network Engineer ก็จะวุ่นวายกับ Lower Layer มากกว่า Upper Layer (5-7) ซะอีก แต่จะไม่พูดถึงก็ไม่ได้ใช่ไหมครับ ถ้าอย่างนั้นก็ไปดูกันต่อเลยครับ

Layer 5 (Session Layer)

ทำหน้าที่ควบคุมการเชื่อมต่อ session เพื่อติดต่อจากต้นทาง กับ ปลายทาง ลองดูจากรูปตัวอย่างเผื่อจะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น (รึเปล่า) 55+

แนวทางการประยุกต์ใช้ Internet of Things (IoT) กับ Smart Agriculture 4.0

โพสต์2 ก.พ. 2560 22:18โดยนายจักรกริช อาจแก้ว   [ อัปเดต 8 ก.พ. 2560 20:45 ]

เมื่อฝั่งต้นทางต้องการติดต่อไปยังปลายทางด้วย port 80 (เปิด Internet Explorer) ฝั่งต้นทางก็จะทำการติดต่อไปยังปลายทาง โดยการสร้าง session ขึ้นมา เป็น session ที่ 1 ส่งผ่าน Layer 4 โดย random port ต้นทางขึ้นมาเป็น 1025 ส่งไปหาปลายทางด้วย port 80

ระหว่าง ที่ session ที่ 1 ใช้งานอยู่ เราติดต่อไปยังปลายทางอีกครั้งด้วย port 80 (เปิด Google Chrome) ฝั่งต้นทางก็จะทำการสร้าง session ที่ 2 ขึ้นมา ส่งผ่าน Layer 4 โดย random port ต้นทางขึ้นมาเป็น 1026 ส่งไปหาปลายทางด้วย port 80

แล้วแต่ละ session ฝั่งปลายทาง ก็จะตอบกลับมาด้วย port ที่ฝั่งต้นทางส่งมา ทำให้สามารถแยก session ออกได้ เมื่อเราส่งข้อมูลบนเครือข่ายนั่นเองครับ

Layer 6 (Presentation Layer)

ทำหน้าที่ในการแปล หรือ นำเสนอ structure , format , coding ต่างๆของข้อมูลบน application ที่จะส่งจากต้นทางไปยังปลายทาง ให้อยู่ในรูปแบบที่ฝั่งต้นทางและปลายทาง สามารถเข้าใจได้ทั้ง 2 ฝั่ง

ผมอ่านจากเว็บนึงกล่าวไว้ก็เข้าใจง่ายดีนะครับ

Most computers use the ASCII table for characters. If another computer would use another character like EBCDIC than the presentation layer needs to “reformat” the data so both computers agree on the same characters.

เค้าบอกว่า computer ส่วนมากใช้ ASCII format ถ้าจะติดต่อพวก computer mainframe จะใช้พวก EBCDIC format ซึ่ง Layer 6 ก็จะทำการ reformat ข้อมูล ซึ่งสามารถทำให้ทั้ง 2 เครื่องสามารถเข้าใจ format ข้อมูลที่จะสื่อสารกันได้

Layer 7 (Application Layer)

ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้ (user) กับ application ที่ใช้งานบนเครือข่าย เช่น Web Browser (HTTP) , FTP , Telnet เป็นต้น สรุปแล้วมันก็คือพวก application ที่ใช้งานผ่าน network นั่นเองครับ

จบแล้วครับ สำหรับ OSI Model ผมก็หวังว่า บทความนี้จะทำให้หลายๆท่าน ได้รู้จักและเข้าใจ OSI Model กันไม่มากก็น้อยครับ แล้วเจอกันในบทความต่อไปนะครับ ขอบคุณครับ

By ReFeeL http://netprime-system.com/osi-model-7-layers/

นายจักรกริช  อาจแก้ว ตำแหน่งเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์ ITEC  ข่าว/ภาพ

แนวทางการประยุกต์ใช้ Internet of Things (IoT) กับ Smart Agriculture 4.0

บทนำ

ปัจจุบันได้เริ่มมีการนำเกษตรกรรมบทบาทมากขึ้นในด้านการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งสอคคล้องกับนโยบายของรัฐบาล Thailand 4.0 เน้นเศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม Value-Based Economy โดยทำให้เห็นความสำคัญการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจใน Thailand 4.0 ซึ่งเรื่องที่เป็นจุดเน้นมากที่สุดคือ กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ (สำนักวิชาการ, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2559) ถ้าเรามองอัตราการเติบโตของจีดีพี 15 ปีย้อนหลัง ประมาณปี 2545-2548 ช่วง 3 ปีนี้จีดีพีโตประมาณ 6-7% พอมาในช่วง 2549-2550 ขยับลงมาเหลือ 4-5% ปี 2550-2551 เหลือประมาณ 0.1 ตอนนั้นเริ่มมีวิกฤติเศรษฐกิจที่อเมริกา มาถึงช่วง 3 ปีสุดท้ายที่ผ่านมา ประมาณ 0-2% ปีสุดท้ายประมาณ 2.8% ถ้าดูอย่างนี้ เปรียบเทียบจีดีพีเฉลี่ย 15 ปี ประมาณ 4% กว่าๆ ถ้า 10 ปีเฉลี่ย 3%กว่าๆ ถ้า 5 ปีเหลือแค่ 2%กว่าๆ ไม่ใช่เพราะการเมืองอย่างเดียว แต่เป็นเพราะว่าโครงสร้างเศรษฐกิจของเรามีปัญหา ความไม่เท่าเทียมกันขยายห่างขึ้นเรื่อยๆ ภาคที่แข็งแรงคือภาคอุตสาหกรรม ขณะที่ภาคเกษตรเตี้ยลงเรื่อยๆ สิ่งแวดล้อมเสียหาย ปีก่อนน้ำท่วม ปีนี้แล้ง ถ้าเราปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อไปอนาคตเมืองไทยมีปัญหาแน่นอน (สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 2559)

เกษตรกรไทยยุค THAILAND 4.0 จุดเริ่มต้นหรือที่มาส่วนหนึ่งของ Smart Farmer คือ การไม่ทำร้ายธรรมชาติ ใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็น ทำแล้วต้องสบายขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ใช่ยิ่งทำยิ่งเหนื่อย เช่น การมีพื้นที่เล็ก ๆ แต่สามารถออกแบบให้ปลูกแบบผสมผสานและเกื้อกูลกันได้ ต้องใช้เทคโนโลยีเป็น ซึ่งก็ถูกต้อง เพราะคนที่จะเป็น Smart Farmer ต้องเชื่อมโลกได้เอง Smart Farmer ต้องเข้าใจตั้งแต่กระบวนการผลิต การบริหารจัดการ เข้าใจธรรมชาติ และเข้าใจเทคโนโลยี (สุมิท แช่มประสิทธิ์, 2559)

จึงเกิดแนวคิดการประยุกต์ใช้ Internet of Things ช่วยในการจัดการปลูกพืชในครัวเรือน ในพื้นที่ที่มีจำกัดให้ได้ผลประโยชน์มากที่สุด ได้เชื่อมโยงไปถึง Smart Farmer กล่าวคือตัวเกษตรกรต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ในด้านเกษตรกรรมและเทคโนโลยี สามารถนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์ สามารถแก้ไขปัญหาได้ มีความคิด รู้จักการวางแผนงาน และเป็นคนที่รู้จักใช้เทคโนโลยีเพื่อลดปัญหาเรื่องของแรงงาน

เทคนิคที่น่าสนใจ

            Internet of Things เป็นเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน หมายถึง เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ ตู้เย็น โทรทัศน์ และอื่นๆ เข้าไว้ด้วยกัน โดยเครื่องมือต่างๆ จะสามารถเชื่อมโยงและสื่อสารกันได้โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งในอนาคตของผู้บริโภคทั่วไปจะเริ่มคุ้นเคยกับเทคโนโลยีที่ทำให้สามารถควบคุมสิ่งของต่างๆ ทั้งจากในบ้าน และสำนักงานหรือจากที่ไหนก็ได้ เช่น การควบคุมอุณหภูมิภายในบ้าน การเปิดปิดไฟ ไปจนถึงการสั่งให้เครื่องรดน้ำต้นไม้ หรือแปลงเกษตรของตนเอง แต่อย่างไรก็ตามยังมีเทคโนโลยีอื่นๆ ยังจำเป็นต้องมีพัฒนาก่อน ถึงจะเกิดเป็น IoT ยกตัวอย่าง เช่น ระบบตรวจจับต่างๆ (Sensors) รูปแบบการ เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ และระบบที่ฝังตัวอยู่ในคอมพิวเตอร์ 

ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และสามารถสั่งงานที่เราต้องการได้นั้น จึงจำเป็นต้องมีนักพัฒนาด้านอิเล็กทรอนิกส์และระบบสั่งการหรือโค้ดโปรแกรม เพื่อใช้สั่งการอุปกรณ์ต่างๆ เนื่องจาก Internet of Things มีพื้นฐานอยู่บนระบบฝังตัว หรือสมองกลฝังตัว (embedded system) คือ ระบบประมวลผล ที่ใช้ชิปหรือไมโครโพรเซสเซอร์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ เป็นระบบคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วที่ฝังไว้ในอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องเล่นอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ตามที่มีคนให้คำจำกัดความไว้ว่า “The Internet of Things it the interconnection of uniquely identifiable embedded computing devices within the existing Internet infrastructure.” Sundresan P., Norita Md N., Valliappan R., (2015) ซึ่งต้องมีอินเตอร์เน็ตเป็นโครงสร้างพื้นฐาน แต่ส่วนประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญก็คือระบบฝังตัว

ปัจจุบันมีอุปกรณ์มากมายถูกผลิตขึ้นมาเพื่อให้นักพัฒนาสามารถนำไปใช้ต่อยอดสร้างชิ้นงานเชื่อมต่อเข้ากับ Internet of Things โดยมีคุณสมบัติที่สามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไร้สาย (Wireless LAN หรือ Wi-Fi) ได้ แบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ดังนี้

กลุ่มที่ 1 บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์สำหรับ Internet of Things บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์กลุ่มนี้ ผู้ผลิตออกแบบและสร้างขึ้นมาให้เราสามารถพัฒนาโปรแกรมลงในไมโครคอนโทรลเลอร์บนบอร์ด ควบคุมอินพุตและเอาต์พุตเชื่อมต่ออุปกรณ์เพื่อตรวจจับหรือแสดงผลได้ตามต้องการ พร้อมใส่อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายแบบไร้สาย Wi-Fi มาบนบอร์ดไม่จำเป็นต้องต่อเพิ่มเติมเอง ยกตัวอย่างเช่น Electric Imps, Spark Core, Arduino Yun, Intel Edison, Wireless Router ต่างๆ

กลุ่มที่ 2 โมดูลสื่อสารไร้สาย Internet of Things โมดูลบางตัวที่มีคุณสมบัติสามารถเป็นอุปกรณ์ Internet of Things ได้ ยกตัวอย่างเช่น โมดูล ESP8266 ซึ่งราคาไม่สูง สามารถทำงานได้ในระดับหนึ่ง แม้ปัจจุบันยังมีอยู่ไม่มากและเข้าถึงยาก แต่ในอนาคตอันใกล้คาดว่าจะมีโมดูลแบบนี้ออกมาอีกหลายตัวแน่นอน ซึ่ง ESP8266 สามารถทำงาน Standalone เนื่องจากภายในมีไมโครคอนโทรลเลอร์อยู่ (แต่ไม่สามารถโปรแกรมแบบทั่วไปได้) ต้องพัฒนาเฟิร์มแวร์ให้ทำงานตามความต้องการ กลุ่มนักพัฒนาที่สนใจได้แบ่งปันข้อมูลดังกล่าวไว้ ผู้ใช้อาจดาวน์โหลดเฟิร์มแวร์ที่มีการทำงานตามที่เราต้องการมาติดตั้งใช้งาน

กลุ่มที่ 3 บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ + โมดูลสื่อสารไร้สาย ทำงานร่วมกันเป็น Internet of Things กลุ่มนี้เป็นการประยุกต์ใช้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ต่างๆ ที่เราคุ้นเคย ร่วมกับโมดูสื่อสารไร้สายที่มีให้เลือกหลากหลายตามความต้องการ เขียนแอพพลิเคชั่นให้ทำงานในลักษณะคล้ายกับกลุ่มที่ 1 เพียงแต่เราต้องจับคู่เชื่อมต่อบอร์ดกับโมดูลต่างๆ เอง ยกตัวอย่างเช่น การใช้ Arduino ร่วมกับ Wi-Fi Shield หรือ UART Wi-Fi การใช้ Raspberry Pi กับ USB Wi-Fi Dongle เพียงเท่านี้ก็สามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายได้ (บริษัท วีนัส ซัพพลาย จำกัด: มปป.)

เนื่องจากในปัจจุบัน ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 ที่เริ่มมีการนำเกษตรกรรมบทบาทมากขึ้นในด้านการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งสอคคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ที่มุ่งเน้นเศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม Value-Based Economy โดยทำให้เห็นความสำคัญการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจใน Thailand 4.0 ซึ่งเรื่องที่เป็นจุดเน้นมากที่สุดคือ กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ ในการเกษตรสมัยใหม่ได้เกิดกระบวนการทำงานหรือการเพาะปลูกที่มีระบบหมุนเวียน อย่างเช่น Aquaponics (อควาโปนิกส์) ซึ่งศาสตร์ใหม่ เป็นกระแสใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมสำหรับคนรักปลา ผู้ที่ชอบเลี้ยงปลาสวยงาม ซึ่งมักจะคุ้นเคยกับการปลูกพืชน้ำต่างๆ ในระบบบ่อกรอง บ่อบำบัด แต่มาระยะหลังๆ เริ่มมีการผสมผสานเทคโนโลยีที่ดีที่สุด ของแนวทางและหลักการของระบบการปลูกพืชไร้ดิน ไฮโดรโปนิกส์ hydroponics มาผสมผสานกันอย่างลงตัว โดยใช้ของเสียจากปลาที่ผสมอยู่ในน้ำ มาหมุนเวียนใช้ร่วมกับจุลินทรีย์ต่างๆ เพื่อเปลี่ยนของเสียให้เป็นธาตุอาหารที่ผักต้องการ เพื่อใช้เป็นอาหารของผักแทนปุ๋ย ปรากฏว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี จึงเป็นอีกทางเลือกใหม่ สำหรับการปลูกพืชผักไว้กินเองในครอบครัว หรือจะปลูกผักในระบบใหญ่กับบ่อเลี้ยงปลาขนาดใหญ่ ในรูปแบบเชิงการค้า

ซึ่งถือว่าเป็นระบบของการเลี้ยงสัตว์น้ำและการปลูกพืชเข้าด้วยกัน ซึ่งในปัจจุบันทำได้โดยการเลี้ยงปลาแบบน้ำไหลเวียนร่วมกับการปลูกพืชผักสมุนไพรด้วยระบบไฮโดรโปรนิกส์ ซึ่งเป็นการพัฒนาขั้นสูงของนักวิจัยและผู้ปลูกพืชผัก เพื่อให้เกิดต้นแบบการผลิตอาหารแบบยั่งยืนเพื่อเลี้ยงประชากรโลกในอนาคต ปัจจุบันอควาโปนิกส์ เปรียบเหมือนต้นแบบของการผลิตอาหารแบบยั่งยืน โดยยึดถือหลักการที่แน่นอน ดังนี้คือ 1. ผลิตภัณฑ์ของเสียของระบบชีววิทยาชนิดหนึ่ง สามารถผลิตสารอาหารให้ระบบชีววิทยาอีกชนิดหนึ่งได้อย่างเหมาะสม คือ ของเสียจากมูลของปลาสามารถนำมาเป็นปุ๋ยให้กับพืชได้ 2. การรวมการผลิตพืชและการเลี้ยงปลาเป็นผลของการผลิตแบบหลากหลาย (Polyculture) ซึ่งจะเพิ่มความหลากหลายและได้ผลผลิตแบบทวีคูณ เป็นระบบนิเวศแบบเกื้อกูลกัน 3. น้ำถูกกรองโดยผ่านการกรองทางชีววิธี และนำกลับมาใช้ซ้ำและ 4. เป็นการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพปราศจากสารเคมีสามารถผลิตได้ทั่วไป ช่วยยกระดับเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นได ข้อดี คือ 1. ลดการใช้น้ำ ลดน้ำเสีย ของการเลี้ยงปลา และปลูกผัก 2. ใช้เนื้อที่น้อย ให้อัตราผลผลิตต่อพื้นที่ดีกว่า เพราะพืชได้น้ำและสารอาหารตลอดเวลา เลี้ยงปลาได้หนาแน่น เพราะมีการบำบัดน้ำตลอดเวลา 3. สามารถปลูกใกล้แหล่งบริโภคได้ เช่น ถ้าทำระบบในครัวเรื่อน ทำให้ไม่ต้องซื้อ ไม่ต้องขับรถไปซื้อของสด ไม่ต้องแช่เย็น และกินได้อาหารสดกว่ามาก และ 4. ลดการใช้สารเคมี เนื่องจากพื้นที่น้อยการลงทำโรงเรือนเพื่อป้องกันโรคแมลงทำได้ง่ายกว่า

 

แนวคิดการประยุกต์ใช้

การประยุกต์ใช้ Internet of Things ในการจัดการการปลูกพืชโดยใช้เทคนิค Aquaponics (อควาโปนิกส์) ผ่านคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ทโฟน โดยมีการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ในที่นี้สามารถเชื่อมต่อได้ทั้ง แบบ LAN และ WIFI เพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้งานและการเข้าถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่เราจำเป็นต้องสั่งการต่อไป ในการเชื่อมต่อนั้นจะผ่านระบบ IoT Could: Cayenne IoT ReadyTM ซึ่งเป็น Server ให้บริการจัดเก็บข้อมูล รวมถึงการดูแลและการสั่งการต่างๆ ภายในระบบอีกที ทั้งนี้ในการทำงานส่วนใหญ่จะมีศูนย์ควบคุมหลัก คือ Raspberry Pi เป็นบอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถเชื่อมต่อกับจอมอนิเตอร์ คีย์บอร์ด และเมาส์ได้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำโครงงานทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ การเขียนโปรแกรม หรือเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะขนาดเล็ก ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน Spreadsheet Word Processing ท่องอินเทอร์เน็ต ส่งอีเมล หรือเล่นเกมส์ อีกทั้งยังสามารถเล่นไฟล์วีดีโอความละเอียดสูง (High-Definition) ได้อีกด้วย บอร์ด Raspberry Pi รองรับระบบปฏิบัติการลินุกซ์ (Linux Operating System) ได้หลายระบบ เช่น Raspbian (Debian) Pidora (Fedora) และ Arch Linux เป็นต้น โดยติดตั้งบน SD Card บอร์ด Raspberry Pi นี้ถูกออกแบบมาให้มี CPU GPU และ RAM อยู่ภายในชิปเดียวกัน สามารถเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งงานให้อุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ทำงานได้ เช่น สั่งงานให้ Relay ทำงานตามเวลาที่กำหนด หรือ สั่ง ปิด-เปิด ปั้มน้ำ ตามเวลาที่ต้องการ เป็นต้น

ทั้งนี้ระบบ IoT Could: Cayenne Iot ReadyTM สามารถสร้างเงื่อนไข ให้การทำงานได้ พร้อมกับการแจ้งเตือนผ่านที่ SMS และ e-Mail ได้อีกด้วย เช่น การตั้งเวลาควบคุมการทำงาน โดยกำหนดให้ เวลา 06.00 น. สั่งการให้ปั้มทำงานเพื่อรดน้ำแปลงผัก เมื่อถึงเวลา 06.20 น. สั่งการให้ ปั้มน้ำหยุดทำงาน และกำหนดให้ส่งข้อความแจ้งเตือนว่าได้ปั้มน้ำเรียบร้อยแล้วผ่านทาง SMS และ e-Mail เป็นต้น นอกจากนั้น IoT Could: Cayenne IoT ReadyTM สมารถเก็บค่าการทำงานต่างๆ ของอุปกรณ์ และนำมาทำเป็นกราฟเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงได้อีกด้วย หรือเป็นการดูความผิดปกติในการทำงาน เช่น การสังเกตความชื้นของดินถ้าหากความชื้นต่ำ เราสามารถสร้างเงื่อนไขการทำงานได้โดยการสั่งการให้ปั้มทำงาน เมื่อดินมีความชื้นต่ำ ตามระดับที่เรากำหนดไว้ เป็นต้น

ในการทำงานของระบบ Aquaponics (อควาโปนิกส์) มีการใช้อุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์อยู่หลายจุด ซึ่งสามารถนำ IoT Could: Cayenne IoT ReadyTM + Raspberry Pi มาควบคุมการทำงาน เช่น การควบคุมการทำงานของปั้มน้ำ การให้อาหารปลา เป็นต้น สามารถสรุปกระบวนการได้ดังภาพที่ 3

บรรณานุกรม

บริษัท วีนัส ซัพพลาย จำกัด. (มปป.). Internet of Things. [ออนไลน์] ค้นหาเมื่อ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559 จาก http://www.thaieasyelec.com/products/internet-of-things.html

บริษัท วีนัส ซัพพลาย จำกัด. (มปป.). บทความการพัฒนาโปรแกรมบน Raspberry Pi ด้วย QT วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559 จาก http://www.thaieasyelec.com/article-wiki/embedded- electronics-application/บทความการพัฒนาโปรแกรมบน-raspberry-pi-ด้วย-qt.html

พีพี ไฮโดร ฟาร์ม. (2554). Aquapoin System (ทางเลือกใหม่ในการปลูกผักและเลี้ยงปลาพร้อมๆกัน). [ออนไลน์] ค้นหาเมื่อ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559 จาก http://pphydrofarm.blogspot.com/2011/08/aquaponic-system.html

วิชาการ.คอม. (2555). อควาโปนิกส์ (Aquapoin) เลี้ยงปลาในตู้ ควบคู่ปลูกผัก รักษ์ธรรมชาติ ปราศจากสารเคมี. [ออนไลน์] ค้นหาเมื่อ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559 จาก http://www.vcharkarn.com/vcafe/195677

สุมิท แช่มประสิทธิ์. (2559). เกษตรกรไทยยุค THAILAND 4.0. [ออนไลน์] ค้นหาเมื่อ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2559 จาก http://www.qmlcorp.com/content/เกษตรกรไทยยุค-   thailand-4.0

สำนักวิชาการ, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2559). ประเทศไทย 4.0. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สมคิด จาตุศรีพิทักษ์. (2559). อนาคตเศรษฐกิจไทย 4.0. ปาฐกถาพิเศษ จัดโดยสภาหอการค้า-จีน เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ณ อาคารสภาหอการค้าไทย.

อดิศักดิ์ เหล่าพิมพ์. (2559). อควาโปนิกส์ Aquaponics สมดุลธรรมชาติระหว่างพืชและปลา. [ออนไลน์] ค้นหาเมื่อ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2559 จาก http://www.organicfarmthailand.com/?p=1313

Advanced Research Group. (2559). Internet of Things (IoT). [ออนไลน์] ค้นหาเมื่อ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559 จาก http://www.ar.co.th/kp/th/15

Cayenne. (2016). IoT Ready Program. ออนไลน์] ค้นหาเมื่อ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559 จาก https://mydevices.com/for-hardware-manufacturers/iot-ready-program/

Sundresan P., Norita Md N., Valliappan R., (2015). Internet of Things (IoT) digital forensic investigation model: Top-down forensic approach methodology. Fifth International Conference on Digital Information Processing and Communications (ICDIPC).

โดย นายฐิติพงษ์ รักษาริกรณ์ นักศึกษาปริญญาโทสาขาวิศวกรรมข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Engineering) วิทยาลัยนวัตกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

http://www.dpu.ac.th/bigdata/iot-smart-agriculture.html

นายจักรกริช  อาจแก้ว ตำแหน่งเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์ ITEC  ข่าว/ภาพ