สถานที่ท่องเที่ยว
วัดโพธิ์ชัยศรี(วัดหลวงพ่อนาค)
ประวัติหลวงพ่อนาค
พระพุทธรูปปางนาคปรกซึ่งลักษณะมีนาค7หัวชูคออยู่เหนือเศียรองค์พระแล้วขมวดหางเป็นวงขดเข้าหากันทำเป็นแท่นประทับขององค์พระมีขนาดต่างๆกันใหญ่บ้างเล็กบ้างและวงขดกว้างกันมี3ชั้นบ้าง5ชั้นบ้าง7ชั้นบ้างแล้วแต่ความนิยมของผู้สร้างในสมัยนั้นๆหลวงพ่อนาคนี้เป็นพระเก่าแก่องค์หนึ่งซึ่งผู้สร้างได้จารึกอักษรไว้ตรงแท่นพระเป็นอักษรตัวธรรม(ไทยน้อย)โบราณแต่ผู้รักอักษรธรรมโบราณมีสองท่านได้อ่านไว้แล้วบอกกันต่อๆกันมา(ขณะนี้ท่านทั้งสองได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว)มีความว่าสร้างเมื่อ ปี จ.ศ.170 แห่งพุทธกาลปีจอเดือน3ขึ้น13ค่ำยามกลองแลงหัวครูคำวงษาเป็นผู้สร้างท่านผู้สร้างคงเป็นพระที่อภิญญาณแน่นอน เมื่อ พ.ศ.2530 พระราชปรีชาญาณมุนีเจ้าคณะจังหวัดหนองคาย
(วัดโพธิ์ชัย)ได้อ่านไว้ว่าสร้าง จ.ศ.170 (พ.ศ.1353) เดือน 5 ขึ้น 13 ค่ำยามกลองแลง (ฤกษ์เททองเวลา17.00น.ถึง17.30น.) ปีจอ หัวครูคำวงษา เป็นผู้สร้างรูปลักษณะของหลวงพ่อนาคองค์นี้สวยงามน่าเลื่อมใสมากโดยเฉพาะพระพักตร์(ใบหน้า)ดูเหมือนว่าองค์ท่านยิ้มนิดๆอารมณ์ดีอยู่ตลอดเวลาและในองค์ของหลวงพ่อนาคนั้นมีผู้เล่าต่อๆกันมาว่าตรงหัวใจขององค์ท่านเป็นทองคำแท้อยู่ภายในและมีอัฐิธาตุ(กระดูก)ของพระอรหันต์บรรจุอยู่ภายในนั้นด้วยจึงทำให้องค์ท่านบางครั้งมีรัศมีเปล่งออกมามีผู้พบเห็นเล่ากันต่อๆมาและมีความศักดิ์สิทธิ์มากเหลือที่เราปุถุชนคนธรรมดาจะคิดให้รู้หมดความสงสัยได้ถ้าพูดตามภาษาธรรมะเรียกว่าเป็นอจินไตยแปลว่าใครๆไม่ควรคิดถ้าใครขืนคิดผู้นั้นจะถึงความเป็นบ้าเพราะคิดไม่ออกนั่นเลยเพราะมิใช่วิสัยของปุถุชนคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆจะคิดได้แต่เป็นนิสัยของผู้ที่มีอภิญญาญาณอันแก่กล้าแล้วเท่านั้นจะรู้ได้โดยไม่ ต้องสงสัย
บ่อน้ำวัดโพธิ์ชัยศรีมีสิ่งมหัศจรรย์
วัดแห่งนี้มีบ่อน้ำบ่อหนึ่งมีน้ำใสสะอาดดีใช้ดื่มก็ได้มีความลึกประมาณ8-9เมตรมีรู้น้ำไหลออกอยู่ตลอดเวลาแต่ก็แปลกใจอยู่ว่าน้ำในบ่อแห่งนี้ถ้าในฤดูหนาวน้ำในบ่อจะอุ่นมากกว่าบ่อน้ำทั่วๆไปพอฤดูร้อนน้ำในบ่อแห่งนี้จะเย็นจนหนาวซึ่งเย็นผิดปกติกว่าบ่อน้ำทั่วไปภายใต้พื้นของบ่อน้ำแห่งนี้จะมีถ้ำและรูใหญ่ขนาดตัวคนคลานเข้าไปได้ทราบว่าเป็นรูจากกันบ่อยาวไปทะลุลำห้วยอีกแห่งหนึ่งห่างจากบ่อน้ำนี้ไปทางทิศตะวันออกประมาณกิโลเมตรจะพอสังเกตได้ว่าเมื่อเวลาคุ(กระแป๋งที่สานด้วยไม้ไผ่ใช้ขี้ชันน้ำมันยางผสมกันทาตากให้แห้งแล้วใช้ตักน้ำของภาคอีสาน)หรือกระแป๋งกระถังตักน้ำตกลงไปในบ่อเจ้าของใช้ไม้ขอหยั่งลงไปกันบ่อคุ้ยหาก็ไม่พบต่อมามีคนไททอดแหหาปลาที่ลำห้วยนั้นไปเจอกระแป๋งคนนั้นเข้าจึงสันนิษฐานว่ารูกันบ่อน้ำต้องยาวไปถึงลำห้วยแน่กระแป๋งของคนนั้นจึงมาอยู่ที่ลำห้วยได้ในบ่อน้ำแห่งนี้มีสิ่งที่มหัศจรรย์อีกอย่างหนึ่งข้าพเจ้าได้ฟังมาว่าใครไปตักน้ำแห่งนี้อาบแล้วโดยเฉพาะเป็นผู้หญิงถ้าใครเอาผ้าซิ่น(ผ้าถุง)ไปวางไว้ที่ปากบ่อน้ำแห่งนี้แล้วพอรุ่งเช้าวันใหม่น้ำในบ่อนี้จะแห้งหมดทันทีชาวบ้านก็ไม่มีน้ำใช้น้ำดื่มต่อไปผู้เล่าให้ฟังบอกข้าพเจ้าว่าในชีวิตนี้เป็นหลายครั้งแล้วและปัจจุบันนี้ก็ยังศักดิ์สิทธิ์อยู่ตามเดิมแต่ก็มีพิธีแกให้น้ำปกติได้โดยชาวบ้านตีกลองรวมกันแล้วมีดอกไม้ธูปเทียนมือถือขันเปล่าคนละใบแห่ไปตัดเอาน้ำที่ลำห้วยดังกล่าวแล้วตักน้ำมาคนละขันนำมาเทลงบ่อน้ำนี้พอรุ่งเช้าวันใหม่น้ำก็จะเต็มขึ้นมาถึงระดับปกติอย่างแต่ก่อน
แหล่งที่มา http://wilaipornpityatri.blogspot.com/2010/01/blog-post_7738.html
วัดป่าบ้านค้อ ตั้งอยู่บ้านค้อ ตำบลเขือน้ำ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ได้ก่อตั้งขึ้นโดยการนำของ “พระอาจารย์ทูล ขิบปปญโญ” (ปัจจุบันมรณภาพแล้วเมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2551 ) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2528 มีเนื้อที่ 410 ไร่ ปัจจุบันมีเสนาสนะและสาธารณูปโภคเท่าที่จำเป็นต่อการอยู่อาศัยปฏิบัติธรรมสำหรับพระและฆราวาส มีเสนาสนะป่าเหมาะแก่การปลีกวิเวกของผู้ใคร่ปฏิบัติธรรม ในส่วนของการเผยแพร่พระพุทธศาสนาและการบริการชุมชน จังหวัดอุดรธานี กำหนดให้วัดป่าบ้านค้อเป็นศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติประจำจังหวัดอุดรธานี และได้เคยจัดให้มีการบรรพชาอุปสมบทอบรมกลุ่มปฏิบัติธรรมแก่ นักเรียนและประชาชนทั่วไป อีกทั้งยังมีฆราวาสทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เข้าพักรับอุบายธรรมภาคปฏิบัติอยู่อย่างสม่ำเสมอ การเดินทางไปยังวัดป่าบ้านค้อ สามารถใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2 (อุดรธานี – หนองคาย) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 13 เลี้ยวซ้ายไปตามถนนหมายเลข 2021 (สายอุดร – บ้านผือ) อีก 20 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าวัดป่าบ้านค้ออีก 3 กิโลเมตร รวมระยะทางจากอุดรธานี ประมาณ 36 กิโลเมตร
เว็บไซต์วัดป่าบ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
สำหรับจังหวัดอุดรธานี ถือเป็นอีกหนึ่งจังหวัดในภาคอีสานตอนบนที่มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย และ หลังจากที่มีข่าวเรื่อง รัฐเตรียมเสนอ ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี ให้เป็นมรดกโลก วันนี้กระปุกดอทคอมไม่รีรอแวะไปรวบรวมเรื่องน่ารู้ให้เพื่อน ๆ ได้มาทำความรู้จัก "อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท"สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งใหม่ในจังหวัดอุดรธานีให้มากขึ้น พร้อมเตรียมเสนอเป็นมรดกโลกในปี 2559 เร็ว ๆ นี้กันค่ะ
"อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท" หรือ "อุทยานแห่งชาติภูพระบาท" ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน มีพื้นที่ครอบคลุมกว่า 3,430 ไร่ ในเขตหมู่บ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน ถือเป็นอุทยานที่แสดงถึงอารยธรรมของมนุษย์ รวมทั้งบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศซึ่งมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นหินทรายที่ถูกขัดเกลาจากขบวนการกัดกร่อนทางธรรมชาติทำให้เกิดเป็นโขดหินน้อยใหญ่รูปร่างต่าง ๆ กัน โดยได้ประกาศขึ้นทะเบียนเขตโบราณสถานไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 ตอนที่ 63 เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2524 และได้พัฒนาเรื่อยมาจนกลายเป็นอุทยานแห่งชาติ หรือ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทในปัจจุบัน ซึ่งภายในอุทยานฯ ได้ปรากฏเป็นหลักฐานเกี่ยวกับชีวิตผู้คนในอดีตที่น่าสนใจหลายแห่งดังนี้...
"พระพุทธบาทบัวบก" อยู่บริเวณทางแยกซ้ายมือก่อนถึงที่ทำการอุทยานฯ สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2463-2477 คำว่า "บัวบก" เป็นชื่อของพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามป่า มีหัว และใบคล้ายใบบัว ชาวบ้านเรียกว่า "ผักหนอก" บัวบกนี้จะมีอยู่มากในบริเวณที่พบรอยพระพุทธบาท จึงเรียกรอยพระพุทธบาทนี้ว่า "พระพุทธบาทบัวบก" หรือคำว่าบัวบกอาจจะมาจากคำว่า บ่บก ซึ่งหมายถึง ไม่แห้งแล้ง รอยพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นแอ่งลึกประมาณ 60 เซนติเมตร ลงไปในพื้นหินยาว 1.93 เมตร กว้าง 90 เซนติเมตร เดิมมีการก่อมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2465 พระอาจารย์ศรีทัตย์ สุวรรณมาโจ ได้รื้อมณฑปเก่าออกแล้วสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นใหม่ และยังสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองวางทับรอยพระพุทธบาทเดิมไว้ ภายในพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตัวองค์เจดีย์เป็นทรงบัวเหลี่ยมคล้ายองค์พระธาตุพนม มีงานนมัสการพระพุทธบาทบัวบกในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
"พระพุทธบาทหลังเต่า" ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระพุทธบาทบัวบก มีลักษณะเป็นรอยพระบาทสลักลึกลงไปในพื้นหิน ลึกประมาณ 25 เซนติเมตร ใจกลางพระบาทสลักเป็นรูปดอกบัว กลีบแหลมนูนขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด และเนื่องจากพระพุทธบาทแห่งนี้อยู่ใกล้กับเพิงหินธรรมชาติรูปร่างคล้ายเต่า จึงได้ชื่อว่า "พระพุทธบาทหลังเต่า"
และไฮไลท์สำคัญที่นักท่องเที่ยวต้องเดินทางมาชมให้ได้ คือ "หอนางอุสา" ต้นตำนานนิทานพื้นบ้าน เรื่อง นางอุสา-ท้าวบารส ที่ตั้งตระหง่านเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท โดยมีลักษณะเป็นโขดหินลักษณะคล้ายรูปเห็ดตั้งอยู่บนลาน เกิดจากกัดกร่อนตามธรรมชาติ ซึ่งมีความเชื่อว่าในสมัยก่อนมีคนไปดัดแปลงโดยการก่อหินล้อมเป็นห้องขนาดเล็กเอาไว้ที่เพิงหินด้านบน ซึ่งใช้เป็นที่อยู่ของนางอุสา รวมทั้งมีใบเสมาหินขนาดกลางและขนาดใหญ่ปักล้อมรอบโขดหิน และหินทรายจำหลัก พระพุทธรูปศิลปะสมัยทวาราวดี ที่เพิงหินวัดพ่อตา และเพิงหินวัดลูกเขย ถ้ำ และเพิงหินต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นว่า พื้นที่บริเวณนี้เป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ทางพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ครั้งอดีตกาล ตั้งกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณอุทยานฯ นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมได้ในระยะทางไม่ไกลนัก ได้แก่ ถ้ำลายมือ, ถ้ำโนนสาวเอ้, ถ้ำคน, ถ้ำวัวแดง (ถ้ำเหล่านี้สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นที่พำนักของมนุษย์สมัยหิน และมนุษย์เหล่านั้นได้เขียนรูปต่าง ๆ ไว้ เช่น รูปคน, รูปมือ, รูปสัตว์ และรูปลายเรขาคณิต)
สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจท่องเที่ยว ภายในอุทยานฯ จะมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวให้บริการข้อมูลตลอดจนแผนที่ สอบถามรายละเอียด โทรศัพท์ 0 4225 0616, 0 4225 1350 เปิดให้เข้าชมเวลา 08.00-16.30 น. อัตราค่าเข้าชม นักท่องเที่ยวชาวไทยราคา 10 บาท และชาวต่างชาติ ราคา 30 บาท
การเดินทาง : อยู่ห่างจากตัวจังหวัดอุดรธานี 67 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2 (อุดรธานี-หนองคาย) กิโลเมตรที่ 13 เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2021 ไปทางอำเภอบ้านผือ ระยะทาง 42 กิโลเมตร เลี้ยวขวาประมาณ 500 เมตร และตรงไปตามทางหลวงหมายเลข 2348 อีก 12 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร
ที่มา : http://travel.kapook.com/view111213.html
วัดนาหลวง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี