นางเกษมณี ประเสริฐ และนายทนงศิลป์ จันทะแจ้ง
วันที่โพสต์: Feb 08, 2018 5:57:14 AM
รายงานการนิเทศแบบกัลยาณมิตรเพื่อพิชิตการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย ของโรงเรียน
ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4
บทคัดย่อ
รายงานการนิเทศแบบกัลยาณมิตรเพื่อพิชิตการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานพัฒนาครูด้วยรูปแบบการนิเทศแบบกัลยาณมิตรเพื่อพิชิตการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย ของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 2. เพื่อรายงานผลการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ของครู โรงเรียนใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็น ครูผู้สอนภาษาไทยโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 จำนวน 312 คน เป็นครูผู้สอนภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 156 คน ครูผู้สอนภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 156 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนภาษาไทยที่เป็นประธานและเลขานุการกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 13 กลุ่มเครือข่าย ๆ ละ 2 คน รวมจำนวน 26 คน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 โดยวิธีเปรียบเทียบตารางของเครจซี่และมอร์แกน ( Krejcie and Morgan. 1970 : 806 ) ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การดำเนินการเป็น 2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การพัฒนาครูด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการครูภาษาไทย ครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 2 เอกสารประกอบการพัฒนาโดยวิธีประชุมเชิงปฏิบัติการประกอบด้วย 1.1.1 แนวทางการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่องและสื่อสารได้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 1.1.2 เอกสารความรู้สำหรับครู ผู้สอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา 1.1.2 แบบฝึกทักษะการอ่าน และการเขียนภาษาไทย เล่ม 1, เล่ม 2 ,เล่ม 3 ระยะที่ 2 การนิเทศติดตาม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ 1. คู่มือนิเทศ 2. แบบนิเทศติดตามการดำเนินงาน 3. แบบรายงานการนิเทศ แบบแผนการทดลองใช้แบบกลุ่มเดียว (One Group Pre-test Post-test Design) สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1. การพัฒนาครูด้วยรูปแบบการนิเทศแบบกัลยาณมิตรเพื่อพิชิตการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.43/86.47 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ คือ 80/80
2. ผลที่เกิดกับครูและผู้เรียนหลังการพัฒนาด้วยรูปแบบการนิเทศแบบกัลยาณมิตรเพื่อพิชิตการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย ของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 พบว่า ครูมีทักษะการสอน เทคนิคการสอนที่ดี มีคุณภาพ เกิดผลให้นักเรียนมีทักษะการอ่านและเขียนดีขึ้นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยเพิ่มสูงขึ้น มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 86.47
3. หน่วยงาน โรงเรียน นำรูปแบบการนิเทศไปใช้ในการพัฒนางาน
4. หน่วยงาน ครู นักเรียนและบุคลากรในสังกัดมีผลงานโล่ เกียรติบัตร รางวัลระดับต่าง ๆเป็นที่ประจักษ์และได้รับความพึงพอใจจากทุกฝ่าย