นางเกษมณี ประเสริฐ และนายทนงศิลป์ จันทะแจ้ง
วันที่โพสต์: Feb 08, 2018 6:4:1 AM
การศึกษาผลการพัฒนาด้านการอ่านและเขียนภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
ตามโครงการปรับความรู้พื้นฐานนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่มีปัญหาด้านการอ่านการเขียน
ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๔
บทคัดย่อ
การศึกษาผลการพัฒนาด้านการอ่านและเขียนภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ตามโครงการปรับความรู้พื้นฐานนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่มีปัญหาด้านการอ่านการเขียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๔ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานการดำเนินงานปรับความรู้พื้นฐานวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๔ ๒)เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาไทย ก่อนและหลังการพัฒนาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่มีปัญหาด้านการอ่านการเขียน โรงเรียนใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๔ ๓)เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนภาษาไทย ก่อนและหลังการพัฒนาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่มีปัญหาด้านการอ่านการเขียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๔ ๔)เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาด้านการอ่าน และเขียนภาษาไทยก่อน และหลังการพัฒนาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่มีปัญหาด้านการอ่านการเขียน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๔ ๕)เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนปรับความรู้พื้นฐาน ในปีงบประมาณต่อไป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่มีปัญหาด้านการอ่านการเขียน ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๘๓๑ คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ๑) แบบนิเทศ การปรับความรู้พื้นฐานในรายวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ ๒)แบบบันทึกคะแนนทักษะการอ่าน ก่อนและหลังการปรับความรู้พื้นฐานภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ ๓) แบบบันทึกคะแนนทักษะการเขียน ก่อนและหลังการปรับความรู้พื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ ๔)แบบบันทึกคะแนนการวัดผลการพัฒนา ด้านการอ่านและเขียนภาษาไทย ก่อนและหลังการปรับความรู้พื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่มีปัญหาด้านการอ่านการเขียน ปีการศึกษา ๒๕๕๙ สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
๑) การเปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาไทย ก่อนและหลังปรับความรู้พื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ ๓ ที่มีปัญหาด้านการอ่านการเขียน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๔ พบว่า นักเรียนมีทักษะการอ่านภาษาไทยก่อนและหลังเรียนปรับพื้นฐาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ แสดงว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่มีปัญหาด้านการอ่านการเขียน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๔ มีทักษะการอ่านภาษาไทยดีขึ้น โดยใช้การปรับความรู้พื้นฐาน
๒)การเปรียบเทียบทักษะการเขียนภาษาไทย ก่อนและหลังของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่มีปัญหาด้านการอ่านการเขียน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๔ พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่มีปัญหาด้านการอ่านการเขียน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๔ มีทักษะการเขียนภาษาไทยก่อนและหลังเรียนปรับความรู้พื้นฐาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสูงกว่าที่ .๐๑ แสดงว่านักเรียนมีทักษะการเขียนภาษาไทยหลังเรียนปรับความรู้พื้นฐาน สูงกว่าก่อนเรียนปรับพื้นฐาน