![]() วัดโพธิ์ชัยศรี(วัดหลวงพ่อนาค) ประวัติหลวงพ่อนาค พระพุทธรูปปางนาคปรกซึ่งลักษณะมีนาค7หัวชูคออยู่เหนือเศียรองค์พระแล้วขมวดหางเป็นวงขดเข้าหากันทำเป็นแท่นประทับขององค์พระมีขนาดต่างๆกันใหญ่บ้างเล็กบ้างและวงขดกว้างกันมี3ชั้นบ้าง5ชั้นบ้าง7ชั้นบ้างแล้วแต่ความนิยมของผู้สร้างในสมัยนั้นๆหลวงพ่อนาคนี้เป็นพระเก่าแก่องค์หนึ่งซึ่งผู้สร้างได้จารึกอักษรไว้ตรงแท่นพระเป็นอักษรตัวธรรม(ไทยน้อย)โบราณแต่ผู้รักอักษรธรรมโบราณมีสองท่านได้อ่านไว้แล้วบอกกันต่อๆกันมา(ขณะนี้ท่านทั้งสองได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว)มีความว่าสร้างเมื่อ ปี จ.ศ.170 แห่งพุทธกาลปีจอเดือน3ขึ้น13ค่ำยามกลองแลงหัวครูคำวงษาเป็นผู้สร้างท่านผู้สร้างคงเป็นพระที่อภิญญาณแน่นอน เมื่อ พ.ศ.2530 พระราชปรีชาญาณมุนีเจ้าคณะจังหวัดหนองคาย (วัดโพธิ์ชัย)ได้อ่านไว้ว่าสร้าง จ.ศ.170 (พ.ศ.1353) เดือน 5 ขึ้น 13 ค่ำยามกลองแลง (ฤกษ์เททองเวลา17.00น.ถึง17.30น.) ปีจอ หัวครูคำวงษา เป็นผู้สร้างรูปลักษณะของหลวงพ่อนาคองค์นี้สวยงามน่าเลื่อมใสมากโดยเฉพาะพระพักตร์(ใบหน้า)ดูเหมือนว่าองค์ท่านยิ้มนิดๆอารมณ์ดีอยู่ตลอดเวลาและในองค์ของหลวงพ่อนาคนั้นมีผู้เล่าต่อๆกันมาว่าตรงหัวใจขององค์ท่านเป็นทองคำแท้อยู่ภายในและมีอัฐิธาตุ(กระดูก)ของพระอรหันต์บรรจุอยู่ภายในนั้นด้วยจึงทำให้องค์ท่านบางครั้งมีรัศมีเปล่งออกมามีผู้พบเห็นเล่ากันต่อๆมาและมีความศักดิ์สิทธิ์มากเหลือที่เราปุถุชนคนธรรมดาจะคิดให้รู้หมดความสงสัยได้ถ้าพูดตามภาษาธรรมะเรียกว่าเป็นอจินไตยแปลว่าใครๆไม่ควรคิดถ้าใครขืนคิดผู้นั้นจะถึงความเป็นบ้าเพราะคิดไม่ออกนั่นเลยเพราะมิใช่วิสัยของปุถุชนคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆจะคิดได้แต่เป็นนิสัยของผู้ที่มีอภิญญาญาณอันแก่กล้าแล้วเท่านั้นจะรู้ได้โดยไม่ ต้องสงสัย บ่อน้ำวัดโพธิ์ชัยศรีมีสิ่งมหัศจรรย์ วัดแห่งนี้มีบ่อน้ำบ่อหนึ่งมีน้ำใสสะอาดดีใช้ดื่มก็ได้มีความลึกประมาณ8-9เมตรมีรู้น้ำไหลออกอยู่ตลอดเวลาแต่ก็แปลกใจอยู่ว่าน้ำในบ่อแห่งนี้ถ้าในฤดูหนาวน้ำในบ่อจะอุ่นมากกว่าบ่อน้ำทั่วๆไปพอฤดูร้อนน้ำในบ่อแห่งนี้จะเย็นจนหนาวซึ่งเย็นผิดปกติกว่าบ่อน้ำทั่วไปภายใต้พื้นของบ่อน้ำแห่งนี้จะมีถ้ำและรูใหญ่ขนาดตัวคนคลานเข้าไปได้ทราบว่าเป็นรูจากกันบ่อยาวไปทะลุลำห้วยอีกแห่งหนึ่งห่างจากบ่อน้ำนี้ไปทางทิศตะวันออกประมาณกิโลเมตรจะพอสังเกตได้ว่าเมื่อเวลาคุ(กระแป๋งที่สานด้วยไม้ไผ่ใช้ขี้ชันน้ำมันยางผสมกันทาตากให้แห้งแล้วใช้ตักน้ำของภาคอีสาน)หรือกระแป๋งกระถังตักน้ำตกลงไปในบ่อเจ้าของใช้ไม้ขอหยั่งลงไปกันบ่อคุ้ยหาก็ไม่พบต่อมามีคนไททอดแหหาปลาที่ลำห้วยนั้นไปเจอกระแป๋งคนนั้นเข้าจึงสันนิษฐานว่ารูกันบ่อน้ำต้องยาวไปถึงลำห้วยแน่กระแป๋งของคนนั้นจึงมาอยู่ที่ลำห้วยได้ในบ่อน้ำแห่งนี้มีสิ่งที่มหัศจรรย์อีกอย่างหนึ่งข้าพเจ้าได้ฟังมาว่าใครไปตักน้ำแห่งนี้อาบแล้วโดยเฉพาะเป็นผู้หญิงถ้าใครเอาผ้าซิ่น(ผ้าถุง)ไปวางไว้ที่ปากบ่อน้ำแห่งนี้แล้วพอรุ่งเช้าวันใหม่น้ำในบ่อนี้จะแห้งหมดทันทีชาวบ้านก็ไม่มีน้ำใช้น้ำดื่มต่อไปผู้เล่าให้ฟังบอกข้าพเจ้าว่าในชีวิตนี้เป็นหลายครั้งแล้วและปัจจุบันนี้ก็ยังศักดิ์สิทธิ์อยู่ตามเดิมแต่ก็มีพิธีแกให้น้ำปกติได้โดยชาวบ้านตีกลองรวมกันแล้วมีดอกไม้ธูปเทียนมือถือขันเปล่าคนละใบแห่ไปตัดเอาน้ำที่ลำห้วยดังกล่าวแล้วตักน้ำมาคนละขันนำมาเทลงบ่อน้ำนี้พอรุ่งเช้าวันใหม่น้ำก็จะเต็มขึ้นมาถึงระดับปกติอย่างแต่ก่อน แหล่งที่มา http://wilaipornpityatri.blogspot.com/2010/01/blog-post_7738.html วัดป่าบ้านค้อ ตั้งอยู่บ้านค้อ ตำบลเขือน้ำ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ได้ก่อตั้งขึ้นโดยการนำของ “พระอาจารย์ทูล ขิบปปญโญ” (ปัจจุบันมรณภาพแล้วเมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2551 ) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2528 มีเนื้อที่ 410 ไร่ ปัจจุบันมีเสนาสนะและสาธารณูปโภคเท่าที่จำเป็นต่อการอยู่อาศัยปฏิบัติธรรมสำหรับพระและฆราวาส มีเสนาสนะป่าเหมาะแก่การปลีกวิเวกของผู้ใคร่ปฏิบัติธรรม ในส่วนของการเผยแพร่พระพุทธศาสนาและการบริการชุมชน จังหวัดอุดรธานี กำหนดให้วัดป่าบ้านค้อเป็นศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติประจำจังหวัดอุดรธานี และได้เคยจัดให้มีการบรรพชาอุปสมบทอบรมกลุ่มปฏิบัติธรรมแก่ นักเรียนและประชาชนทั่วไป อีกทั้งยังมีฆราวาสทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เข้าพักรับอุบายธรรมภาคปฏิบัติอยู่อย่างสม่ำเสมอ การเดินทางไปยังวัดป่าบ้านค้อ สามารถใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2 (อุดรธานี – หนองคาย) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 13 เลี้ยวซ้ายไปตามถนนหมายเลข 2021 (สายอุดร – บ้านผือ) อีก 20 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าวัดป่าบ้านค้ออีก 3 กิโลเมตร รวมระยะทางจากอุดรธานี ประมาณ 36 กิโลเมตร สำหรับจังหวัดอุดรธานี ถือเป็นอีกหนึ่งจังหวัดในภาคอีสานตอนบนที่มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย และ หลังจากที่มีข่าวเรื่อง รัฐเตรียมเสนอ ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี ให้เป็นมรดกโลก วันนี้กระปุกดอทคอมไม่รีรอแวะไปรวบรวมเรื่องน่ารู้ให้เพื่อน ๆ ได้มาทำความรู้จัก "อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท"สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งใหม่ในจังหวัดอุดรธานีให้มากขึ้น พร้อมเตรียมเสนอเป็นมรดกโลกในปี 2559 เร็ว ๆ นี้กันค่ะ และไฮไลท์สำคัญที่นักท่องเที่ยวต้องเดินทางมาชมให้ได้ คือ "หอนางอุสา" ต้นตำนานนิทานพื้นบ้าน เรื่อง นางอุสา-ท้าวบารส ที่ตั้งตระหง่านเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท โดยมีลักษณะเป็นโขดหินลักษณะคล้ายรูปเห็ดตั้งอยู่บนลาน เกิดจากกัดกร่อนตามธรรมชาติ ซึ่งมีความเชื่อว่าในสมัยก่อนมีคนไปดัดแปลงโดยการก่อหินล้อมเป็นห้องขนาดเล็กเอาไว้ที่เพิงหินด้านบน ซึ่งใช้เป็นที่อยู่ของนางอุสา รวมทั้งมีใบเสมาหินขนาดกลางและขนาดใหญ่ปักล้อมรอบโขดหิน และหินทรายจำหลัก พระพุทธรูปศิลปะสมัยทวาราวดี ที่เพิงหินวัดพ่อตา และเพิงหินวัดลูกเขย ถ้ำ และเพิงหินต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นว่า พื้นที่บริเวณนี้เป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ทางพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ครั้งอดีตกาล ตั้งกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณอุทยานฯ นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมได้ในระยะทางไม่ไกลนัก ได้แก่ ถ้ำลายมือ, ถ้ำโนนสาวเอ้, ถ้ำคน, ถ้ำวัวแดง (ถ้ำเหล่านี้สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นที่พำนักของมนุษย์สมัยหิน และมนุษย์เหล่านั้นได้เขียนรูปต่าง ๆ ไว้ เช่น รูปคน, รูปมือ, รูปสัตว์ และรูปลายเรขาคณิต) การเดินทาง : อยู่ห่างจากตัวจังหวัดอุดรธานี 67 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2 (อุดรธานี-หนองคาย) กิโลเมตรที่ 13 เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2021 ไปทางอำเภอบ้านผือ ระยะทาง 42 กิโลเมตร เลี้ยวขวาประมาณ 500 เมตร และตรงไปตามทางหลวงหมายเลข 2348 อีก 12 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร ที่มา : http://travel.kapook.com/view111213.html |