การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการเรียนรวม และเลิกโรงเรียนโดยใช้ SRD MODEL
งานวิจัย นางสาวมธุรดา ทองสมุทร
หัวข้อวิจัย :
การพัฒนาคู่มือพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 บทคัดย่อ การพัฒนาคู่มือพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)
พัฒนาคู่มือพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
2) ศึกษาผลการใช้คู่มือการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา และ 3) ศึกษาผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
ปีการศึกษา 2562
หลังจากใช้คู่มือการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน1)
ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการการดำเนินงาน ตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 2)
พัฒนาคู่มือพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 3) ทดลองใช้คู่มือพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา และ 4) ศึกษาผลการใช้คู่มือพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
และศึกษาผล การประเมินตนเองของสถานศึกษา
ปีการศึกษา 2562 กลุ่มตัวอย่างที่เป็นเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้
เป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 จำนวน 17 แห่ง
ผลการวิจัยพบว่า |
การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาคูณ 2) สร้างนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาคูณ และ 3) ศึกษาผลของการใช้นวัตกรรมในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาคูณ ซึ่งการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาคูณ โดยศึกษาสภาพปัญหาจาก 3 แหล่ง คือจากโรงเรียน จากบ้านของนักเรียนและ จากตัวนักเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในระยะนี้ ได้แก่ คณะครู จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 20 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธี จับสลาก และนักเรียน จำนวน 20 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับสลากรวมทั้งหมด 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 3 ฉบับ คือ ฉบับสำหรับครู สำหรับผู้ปกครองและสำหรับนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับเท่ากับ 0.92, 0.85 และ 0.88 ตามลำดับ สถิติใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาจากโรงเรียน คือ ปัญหาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 2) สภาพปัญหาจากบ้านของนักเรียนคือปัญหาเกี่ยวกับการอบรม แนะนำให้นักเรียนเป็นคน มี จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์และ 3) สภาพปัญหาจากตัวนักเรียน คือ ปัญหาเกี่ยวกับการฝึกอบรมให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ |
ผอ.วีระยุทธ เวียงสมุทร
ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สื่อการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ของโรงเรียนบ้านน้ำปู่ ปีการศึกษา 2561 ผู้ศึกษา : นายวีระยุทธ เวียงสมุทร ผอ.ร.ร.บ้านน้ำปู่ และ นายทนงศิลป์ จันทะแจ้ง ผอ.กลุ่มนิเทศ ติดตามฯ ปีที่ศึกษา : 2561 ของโครงการ ด้านปัจจัยการดำเนินโครงการ ด้านกระบวนการดำเนินโครงการ และด้านผลการดำเนินโครงการ และ 2) ประเมินผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการการพัฒนา การจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้สื่อการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ของโรงเรียนบ้านน้ำปู่ปีการศึกษา 2561 ได้แก่ ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้สื่อการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้สื่อการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) การทำวิจัยในชั้นเรียนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้สื่อการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ผลจากการนิเทศ กำกับ ติดตามการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) โดยผู้บริหาร และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้สื่อการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ของโรงเรียนบ้านน้ำปู่ ปีการศึกษา 2561 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงโดยใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 9 คน และครูผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 5 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลากโดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำปู่ ปีการศึกษา 2561 จำนวน 56 คน และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำปู่ ปีการศึกษา 2561 จำนวน 56 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 126 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการโครงการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) 2) แบบประเมินตนเอง เรื่องการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญโดย ใช้สื่อการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) 3) แบบประเมินตนเอง เรื่องการทำวิจัย ในชั้นเรียนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) และ 4) แบบประเมินการนิเทศการสอน เรื่องการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ การหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ |
กระบวนการนิเทศภายในเชิงระบบ
นายจัดสันต์ ภักดีศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนอุดรธานีพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 ได้จัดทำบทความวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการนิเทศภายในเชิงระบบร่วมกับการทำงานเป็นทีมระหว่างผู้บริหารสถานศึกษากับครู abstract (บทคัดย่อ) คลิ๊กที่นี้ |
รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้
เรื่อง รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง สถานศึกษา โรงเรียนบ้านนาแค อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการประถมศึกษา ปีการศึกษา 2561 บทคัดย่อ การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1)เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง
โลกและการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง 3)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ (ว22102) ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาแค อำเภอ นายูง จังหวัดอุดรธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 ห้องเรียน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวนนักเรียน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง โลกและการ เปลี่ยนแปลง จำนวน 6 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ (ว22102) ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ค่าความยากง่าย (P) ตั้งแต่ 0.35-0.78 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.20-1.00 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ ของผู้เรียน ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง เป็นแบบ มาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (r) ตั้งแต่ 0.31 ถึง 0.64 ค่าความเชื่อมั่นของ แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนรู้เท่ากับ 0.80 แบบแผนการทดลองครั้งนี้เป็นแบบ One–Group Pretest – Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ สมมติฐานใช้สถิติ กลุ่มตัวอย่างสัมพันธ์กัน (Dependent Samples t-test) ผลการศึกษาพบว่า 1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง มีประสิทธิภาพ |
การประกันคุณภาพการศึกษา
#สาระสำคัญที่ต้องอ่าน ทำความเข้าใจและนำไปปฏิบัติว่าด้วยเรื่อง “การเขียนบทสรุปรายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report: SAR)” ของ รมว.ศธ.(นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์) ณ โรงแรมไมด้า แกรนด์ ทวารวดี จ.นครปฐม ......................................................... ~~~บทนํา~~~ #การประเมินตนเองเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาและวางแผนอย่างต่อเนื่อง บทสรุปการประเมินตนเองเป็นครื่องมือสาคัญที่ช่วยให้โรงเรียนประเมินด้านต่างๆ ของงานที่ทำและจะนำไปสู่การประเมินภาพรวมคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน ทั้งนี้ การประเมินตนเองไม่ได้ต้องทำในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของปีเท่านั้น แต่เวลาที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละโรงเรียน #คุณสมบัติสําคัญของการประเมินตนเองที่มีประสิทธิภาพ บทสรุปการประเมินตนเองจะมีประสิทธิภาพที่สุดเมื่อ: • กระชับ และรวบรัด จับประด็นสำคัญ และมีที่มาของหลักฐานที่ชัดเจน • เป็นการประเมินไม่ใช่แค่บรรยาย แต่จะต้องสื่อให้เห็นอย่างชัดเจนถึงผลกระทบของสิ่งโรงเรียนที่ได้ลงมือทำ เพื่อพัฒนาคุณภาพด้านต่างๆ (เช่น ด้านผู้เรียน ด้านผู้สอน ด้านปัจจัยพื้นฐาน เป็นต้น) • เป็นเอกสารที่ ผอ. อ้างถึงเป็นประจำเพื่อการพัฒนาโรงเรียน และมีการปรับปรุงเอกสารอยู่เสมอตามกระบวนการประเมินของโรงเรียน • เป็นเอกสารที่จัดทำโดย ผอ. โรงเรียน และใช้เพื่อให้ผู้นำโรงเรียนได้รับทราบสถานการณ์ของโรงเรียน โดยผู้นำโรงเรียนนี้ รวมถึง ผอ. กรรมการโรงเรียน ผู้บริหารอื่นๆ และครู • ใช้สำหรับชี้ด้านที่โรงเรียนจะพัฒนาและเพื่อวางแผนพัฒนาโรงเรียน • มีตัวชี้วัดว่าโรงเรียนประสบความสำเร็จหรือในการพัฒนาตามแผนจากการประเมินครั้งก่อนหน้า #การประเมินตนเองมีแนวโน้มที่จะถูกต้องและเข้มแข็ง ถ้าเกิดจากการรวบรวมและใช้ข้อมูลในการประเมินจากหลากหลายแหล่ง เช่น • การวิเคราะห์การเรียนการสอนและผลงานของนักเรียน • การวิเคราะห์ความคืบหน้าและผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในโรงเรียนรวมถึงกลุ่มนักเรียนต่างๆ • การวิเคราะห์ความคืบหน้าและผลสัมฤทธิ์ในอดีตของนักเรียน • การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการประพฤติและความปลอดภัยของนักเรียน เช่น การโดนทำโทษ การขาดเรียน การเกิดเหตุต่างๆ ฯลฯ • การวิเคราะห์ประสิทธิผลของโครงการต่างๆ ที่โรงเรียนได้เคยทำไปเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์หรือพฤติกรรม ของนักเรียน • มุมมองของผู้ปกครอง • การประเมินจากภายนอกต่างๆ เช่น จากผู้ตรวจของกระทรวง สมศ. หรืออื่นๆ #วิธีการเขียนบทสรุปการประเมินตนเอง โรงเรียนอธิบายข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนในตอนต้น และหลังจากนั้นตอบคําถาม 3 คําถาม ดังนี้ 1. ระดับมาตรฐานที่โรงเรียนอยู่ในปัจจุบัน 2. หลักฐานที่แสดงว่าโรงเรียนอยู่ในระดับนั้น ตามเกณฑ์ของโรงเรียนประชารัฐ และข้อมูลจากแหล่ง ต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น 3. แผนพัฒนาเพื่อให้โรงเรียนขึ้นไปได้อีก 1 ขั้น #ในการประเมินด้านต่างๆในคําถามข้อที่ 2 โรงเรียนอาจจะดําเนินการดังนี้ • สรุปหลักฐานที่ได้โรงเรียนได้รวบรวมมาจากแหล่งต่างๆ • พิจารณาว่าหลักฐานใดยังมีช่องโหว่อยู่หรือยังไม่ครอบคลุมและลึกเท่าที่ควร ซึ่งถ้ายังมีช่องโหว่ก็อาจจะต้องมีการหาหลักฐานและการประเมินเพิ่มเติม • โรงเรียนควรจะใช้วิจารณาณบนพื้นฐานของหลักฐานว่าโรงเรียนจัดการศึกษาอยู่ในระดับใด #หลังจากได้ผลการประเมินด้านต่างๆของโรงเรียนแล้ว โรงเรียนควรจะตรวจสอบความถูกต้องของผลการประเมินดังกล่าวโดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกรรมการและผู้มีส่วนได้เสียของโรงเรียน เพื่อให้ท่านเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญของการประเมินตนเอง สร้างความรับผิดชอบให้แก่ผู้บริหารโรงเรียน และทำให้ผลการ ประเมินเป็นความจริงและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น download แนวทางการประเมินคุณภาพตามาตรฐานฯ ปี 61 คลิ๊กที่นี่ |
นางเกษมณี ประเสริฐ และนายทนงศิลป์ จันทะแจ้ง
นางเกษมณี ประเสริฐ และนายทนงศิลป์ จันทะแจ้ง
รายงานการนิเทศแบบกัลยาณมิตรเพื่อพิชิตการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย
ของโรงเรียน บทคัดย่อ รายงานการนิเทศแบบกัลยาณมิตรเพื่อพิชิตการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานพัฒนาครูด้วยรูปแบบการนิเทศแบบกัลยาณมิตรเพื่อพิชิตการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย ของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 2. เพื่อรายงานผลการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ของครู โรงเรียนใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็น ครูผู้สอนภาษาไทยโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 จำนวน 312 คน เป็นครูผู้สอนภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 156 คน ครูผู้สอนภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 156 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนภาษาไทยที่เป็นประธานและเลขานุการกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 13 กลุ่มเครือข่าย ๆ ละ 2 คน รวมจำนวน 26 คน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 โดยวิธีเปรียบเทียบตารางของเครจซี่และมอร์แกน ( Krejcie and Morgan. 1970 : 806 ) ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การดำเนินการเป็น 2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การพัฒนาครูด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการครูภาษาไทย ครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 2 เอกสารประกอบการพัฒนาโดยวิธีประชุมเชิงปฏิบัติการประกอบด้วย 1.1.1 แนวทางการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่องและสื่อสารได้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 1.1.2 เอกสารความรู้สำหรับครู ผู้สอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา 1.1.2 แบบฝึกทักษะการอ่าน และการเขียนภาษาไทย เล่ม 1, เล่ม 2 ,เล่ม 3 ระยะที่ 2 การนิเทศติดตาม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ 1. คู่มือนิเทศ 2. แบบนิเทศติดตามการดำเนินงาน 3. แบบรายงานการนิเทศ แบบแผนการทดลองใช้แบบกลุ่มเดียว (One Group Pre-test Post-test Design) สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า |
นางสาวอมรา จันทะไทย และนายทนงศิลป์ จันทะแจ้ง
รายงานผลการดำเนินงานการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยการเรียนรวม และเลิกโรงเรียนโดยใช้ SRD MODEL ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี
เขต 4 ผลการดำเนินงานพบว่า |